วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน


การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยและแบบกองสูง เป็นการเพาะเห็ดที่เรียบง่าย เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะไม่ต้องลงทุนมาก แต่เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตไม่แน่นอนต้องอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศไม่สามารถผลิตเห็ดให้มีคุณภาพสูงพอที่จะส่งออกเป็นอุตสาหกรรมได้ จึงได้มีการศึกษาวิธีเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลผลิตสูง มีความสม่ำเสมอแน่นอนตามเวลาที่ต้องการ และสามารถผลิตเห็ดได้ตลอดปี สามารถทำเป็นการค้าโดยวิธีการเพาะเห็ดแบบโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้

โรงเรือนที่ใช้เฉพาะและการจัดสร้าง

โรงเรือนที่จะใช้เพาะเห็ดฟางนั้น ควรคำนึงถึงความเป็นจริงที่มีการปฏิบัติกันอยู่แยกออกเป็น

1. โรงเรือนหลัก ควรเป็นโรงเรือนแบบถาวร หลังคาอาจมุงด้วยจากหรือหญ้าคาขนาดโรงเรือนควรสร้างให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนของห้อง 1 โรงเรือน จะมีหลายห้องหรือห้องเดียวก็ได้ พื้นโรงเรือนถ้าเป็นพื้นดินก็ควรอัดให้แน่น หรือเป็นพื้นคอนกรีตก็จะดี เพื่อสะดวกต่อการทำความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด ควรเป็นโรงเรือนที่ปิดมิดชิด สามารถอบไอน้ำฆ่าเชื้อเก็บอุณหภูมิและความชื้นได้ วัสดุที่ใช้อาจเป็นคอนกรีต อิฐบล๊อค กระเบื้องเรียบหรือใช้โครงไม้ไผ่บุกด้วยผ้าพลาสติกหนาให้สามารถเก็บรักษาความชื้นได้ ขนาดของโรงเรือนกว้าง ยาว สูง 5 X 8 X 3 เมตร หรือ 4 X 6 X 2.5-3 เมตร หลังคาทรงหน้าจั่วทำด้วยจาก บุด้วยผ้าพลาสติก พื้นโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต มีประตูทางเข้าออกด้านละ 1 ประตู โรงเรือนเพาะนี้ต้องมีช่องสำหรับระบายอากาศอยู่บริเวณหน้าจั่วกว้างประมาณ 40 X 60เซนติเมตร และมีช่องสำหรับส่งไอน้ำผ่านเข้าไปในโรงเรือนได้ อย่างไรก็ดีรูปแบบและขนาดของโรงเรือนตลอดจนวัสดุที่ใช้อาจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามความรู้และเครื่องมือที่สร้างขึ้น

2. โรงเรือนรอง หรือชั้นวางเพาะเห็ด ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร โดยสร้างให้มีชายยื่นออกมาข้างละ 50 เซนติเมตร ยาว 4 เมตร และสูง 1.80 เมตร โดยแบ่งชั้นเพาะเห็ดออกเป็น 2 ข้าง ๆ ละ 4 ชั้น แต่ละชั้นห่างกัน 50 เซนติเมตร ชั้นแรกอยู่สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร ชั้นที่ 4 สูงจากพื้น 1.80 เมตร ชั้นวางเพาะเห็ดนี้ควรทำด้วยเหล็กหรือไม้ไผ่ก็ได้

ผ้าพลาสติก ลักษณะคล้ายกับถุงเคลือบ เย็บและบุภายในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิ

อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อให้การดำเนินการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ควรมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

1. พัดลมดูดเป่าและระบายอากาศ เป็นพัดลมทรงกระบอกธรรมดา ขนาดใบพัด 16-20 เซนติเมตร แต่ดัดแปลงทำกล่องสังกะสีสวมปากทางลมออก โดยให้มีลมออกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งต่อเข้าภายในโรงเรือน อีกทางหนึ่งออกภายนอก ทั้งสองจะมีลิ้นปิดเปิด ส่วนทางดูดลมก็เช่นเดียวกันคือทำทางดูด 2 ทาง ต่อเข้าภายในด้านหนึ่ง อีกข้างหนึ่งอยู่ข้างนอก และมีลิ้นปิดเปิดเช่นกัน สำหรับทางลมออกก็ต่อเข้าภายในโรงเรือนโดยต่อขึ้นไปข้างบนขนานกับสันจั่ว อาจทำด้วยท่อเอสล่อนหรือใช้ผ้าพลาสติกเย็บให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางพอสวมปากท่อได้ ตรงท่อที่ขนานจั่วนั้นต้องทำการเจาะรูขนาดเท่ามวนบุหรี่เพื่อให้อากาศออก

แปลงโฉมเห็ดนางฟ้า

[font=Tahoma,][size=2][color=#000000]"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อนและตู้อบ ก็ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"



[b]เป็นที่รู้กันดี ว่าเมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉะนั้นผลผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งมีทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออกแต่ละปีรายได้จากการส่งออกหลั่งไหลเข้าประเทศไม่น้อยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามูลค่าสูงถึง1,129,206 ล้านบาท และยิ่งคราใดที่ฤดูกาลเป็นใจเอื้ออำนวยให้เหล่าเกษตรกรเพาะปลูก บรรดาพืชผักและผลไม้จะเพิ่มมากขึ้นจนบางคราวเกิดภาวะล้นตลาด แต่ไม่เป็นปัญหา เพราะได้กลุ่มแม่บ้านใช้ภูมิปัญญานำมาแปรรูป หรือเรียกอีกอย่างว่า การถนอมอาหารก่อเกิดรายได้เสริม จนหลายคนยึดเป็นอาชีพหลัก[/b]

ดั่งเช่นกลุ่มสตรีอาสาพัฒนา เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนาม ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูป จนกวาดรางวัลมานับไม่ถ้วน อาทิโอท็อป 5 ดาว, ชนะเลิศอันดับ 1เวทีประกวดการผลิตอาหารใส่เกลือไอโอดีนของจังหวัดเพชรบุรี,รางวัลอาหารแปรรูป จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เครื่องหมาย อย.และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น

แต่กว่ากลุ่มสตรีฯจะมารวมตัวเช่นทุกวันนี้ ต้นฉบับคิดค้นกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้าคือคุณสุมล ขันทองคำ ผู้ล่วงลับ ต้องผ่านมรสุมชีวิตเคยแม้กระทั่งทั้งครอบครัวเหลือเงินเพียง 3,000 บาท แต่เพราะความไม่ท้อแท้พยายามจนถึงที่สุด ทำให้ก่อนจากโลกใบนี้ไป เธอได้ฝากเมนูต่างๆล้วนทำจากเห็ด จนเป็นที่ยอมรับ และกล่าวขาน

เพื่อให้คุณผู้อ่านทราบเรื่องราวของครอบครัว "ขันทองคำ"และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้า เส้นทางเศรษฐีร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยหรือ SME BANKพาไปพูดคุยกับ คุณนิติมา ขันทองคำ ทายาทคนเดียวที่เข้มแข็งดำเนินกิจการท่ามกลางความรู้สึกสิ้นหวัง จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี



[b]จากชีวิตสุขสบาย

ใช้เห็ดนางฟ้าเลี้ยงครอบครัว [/b]

คุณนิติมา หรือ คุณนิด เท้าความกว่าจะมาเป็นเห็ดแปรรูป "คุณสุมล" ในวันนี้ว่า"พื้นเพเป็นคนเพชรบุรี แต่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จำความได้จนเรียนจบเลขานุการ พาณิชยการราชดำเนินช่วงเวลาดังกล่าวใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เนื่องจากที่บ้านมีกิจการส่วนตัวทั้งภัตตาคาร คาเฟ่ริมน้ำ และมีหุ้นอยู่ในบริษัทมันฝรั่งทอดแห่งหนึ่งจนกระทั่งปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจที่คุณพ่อคุณแม่สร้างมาล้มภายในพริบตา อีกทั้งสามีเสียชีวิตด้วยโรคร้าย เรียกว่าชีวิตช่วงนั้นแย่แทบทนไม่ไหว ทั้งครอบครัวเลยพร้อมใจเดินทางกลับบ้านเกิด"

เมื่อครอบครัว "ขันทองคำ" ปฏิเสธการใช้ชีวิตในเมืองหลวงแต่ใช่ว่าการกลับถิ่นกำเนิดครั้งนี้จะสุขสบาย เพราะคุณนิด เล่าว่าช่วงเวลานั้น ทั้งบ้านเหลือเงินเพียง 3,000 บาท ดังนั้นทุกบาททุกสตางค์จึงต้องใช้สอยอย่างประหยัดทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดรายจ่ายคือ ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานรวมถึงแบ่งส่วนหนึ่งไปจำหน่าย แต่ทว่ากำไรน้อยประกอบกับมีเพื่อนบ้านชวนให้เลี้ยงปลาดุกจำหน่าย เพราะลงทุนต่ำขายได้ราคาดี คุณแม่เลยกู้เงินคนรู้จัก 10,000 บาทขุดบ่อเลี้ยงปลาหลังบ้านขายในเวลาต่อมา

คุณนิด เล่าต่อว่าเลี้ยงปลาดุกอยู่ 6 เดือน ช่วงแรกขายดี สักพักคู่แข่งเริ่มเยอะอีกทั้งราคาปลาดุกตกต่ำ ขาดทุนจนต้องเลิก "จังหวะชีวิตเราไม่ค่อยดีตอนเลี้ยงปลาราคาดี แต่ผ่านไปสักระยะราคาตก ขาดทุน เบ็ดเสร็จเป็นหมื่นสู้ไม่ไหว สุดท้ายเลิกอาชีพแม่ค้าขายปลา"

ใช่ว่าชีวิตจะประสบแต่วิกฤต นี่คือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณสุมลพบโอกาสครั้งใหม่จากการบอกเล่าของทายาท ว่า "ปี 2542 เพื่อนบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้าขายแนะนำให้คุณแม่ลองเพาะ เนื่องจากลงทุนไม่สูง เพาะง่าย ให้ผลผลิตเร็วท่านสนใจซื้อเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน ก้อนละ 3 บาท มาเพาะแต่ละก้อนเพาะได้นาน 6 เดือน ปรากฏแต่ละวัน เห็ดนางฟ้าออกดอก 20กว่ากิโลกรัม ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้ว เห็ดนางฟ้ากิโลกรัมละ 25 บาทถือว่าราคาดีมาก ช่วงนั้นเลยเพาะเห็ดขาย เฉลี่ยครอบครัวมีรายได้ 500 บาทต่อวัน"

ทว่าเมื่อใดก็ตาม ที่สินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแถมหาง่าย ไม่แปลกที่คนจะแห่หันมาเพาะเห็ดนางฟ้าจำหน่าย ตรงนี้ คุณนิดเผยถึงปัญหาที่ตามมาว่า สินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ราคาเห็ดตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งกระทบโดยตรงต่อรายได้ ตลอดจนเห็ดที่เพาะไว้

"ขายเห็ดนางฟ้าสดได้ 4 เดือน ชาวบ้านละแวกนั้นเห็นว่าขายดีเลยหันมาเพาะเยอะมาก จนเห็ดเริ่มขายไม่ออก และเน่าเสียแม่เสียดาย เลยเอาเห็ดนางฟ้ามาทำเป็นอาหาร ทั้งต้มยำ ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันหอยสารพัดเมนูแต่ยังไม่หมด แช่ตู้เย็นก็กลัวเน่า ชั่วครู่คิดได้ว่าลองนำมาทำน้ำพริกมะขาม โดยใช้เห็ดแทนหมูสับ ทานกันในครอบครัว รู้สึกอร่อยเลยนำไปฝากนายอำเภอ ซึ่งท่านชิมแล้วชอบแนะนำให้ทำมาขายในงานประชุมประจำจังหวัด แม่ดีใจทำไปขายในราคากระปุกละ 10บาท ปรากฏขายดีมาก ตั้งแต่บัดนั้น เลยมีเมนูอื่นตามมา อาทิ น้ำพริกเผาเห็ดน้ำพริกตาแดงเห็ด"

ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสองแม่ลูกที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปจำหน่าย จากหน่วยงานราชการ เริ่มขยายสู่แหล่งอื่น อาทิสถานศึกษา และสถานที่ทำงานต่างๆ แต่เห็ดก็ยังเหลืออยู่ดี



[b]รวมกลุ่มเกิดปัญหา

แม่ไม่ท้อ เฟ้นหาสารพัดวิธี[/b]

ราวกับว่าโชคเข้าข้างคนขยัน คุณนิด เล่าว่า"คุณแม่บังเอิญพบแม่ชีท่านหนึ่งที่เขาวังซึ่งท่านแนะนำให้ลองนำเห็ดไปผัดกับน้ำตาล ซีอิ๊วขาว เรียกเห็ดหย็องใช้รับประทานกับข้าวต้ม แม่สนใจกลับมาลองทำ ปรากฏว่าอร่อย แต่วันรุ่งขึ้นเหนียว ไม่กรอบ น้ำมันไหลเยิ้ม พูดง่ายๆ ว่า ทำกินได้ ทำขายไม่ได้แต่ท่านไม่ล้มเลิก สรรหาวิธีมากมาย อาทิ ตากแดด คั่ว นึ่ง ลองผิดลองถูก 6เดือน จนสุดท้ายทราบเคล็ดลับทำให้กรอบ อร่อย"

ถามว่าเพราะเหตุใดเห็ดนางฟ้าจึงกรอบ และมีรสชาติคงเดิม คุณนิด เผยแบบไม่หวงว่า"แม่หวนนึกถึงกล้วยฉาบ เผือกฉาบ ทำอย่างไรถึงกรอบ จนกระทั่งพบว่าหัวใจสำคัญของความกรอบคือ ความสด ซึ่งหลังฉีกเห็ดนางฟ้าเป็นชิ้นและคลุกกับเครื่องปรุงรสคุณภาพดีแล้ว ต้องลงทอดในน้ำมันทันทีหากอยากให้เห็ดเก็บไว้รับประทานได้นาน น้ำมันที่ใช้ทอด ไม่ควรเกิน 2 ครั้งวิธีดังกล่าวจะช่วยยืดอายุเห็ดนาน 3 เดือน"

เมนูเห็ดหย็องลูกสาวเล่าต่อว่า ถูกคุณสุมลนำไปเสนอท่านนายอำเภออีกครั้งเพื่อการันตีความอร่อย ซึ่งครั้งนี้ท่านแนะนำให้ไปจำหน่ายในงานชายหาดชะอำปรากฏผลการตอบรับดีเกินคาดถึงขั้นมีสื่อทีวีท้องถิ่นมาขอถ่ายทำกรรมวิธีผลิต ทำให้ขายดิบขายดีลำพังแรงงานครอบครัวไม่พอ ผู้มีพระคุณแนะนำให้รวมกลุ่มขึ้นมา

"นายอำเภอเปรียบเสมือนผู้ที่คอยหาสถานที่จำหน่ายให้แก่ครอบครัวเราซึ่งท่านเห็นว่ามีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เกรงว่าจะผลิตไม่ไหวเลยแนะนำให้จัดตั้งกลุ่ม คุณแม่ไม่รอช้าชักชวนเพื่อนละแวกบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้ามารวมกลุ่มกัน ตั้งต้น 59 คนเก็บค่าใช้จ่ายไว้เป็นเงินหมุนเวียนเดือนละ 200 บาทแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด โดยคุณแม่รับหน้าที่ประธานกลุ่ม"

แต่แล้วไม่นานกลุ่มเกิดปัญหา สินค้าไม่มีสถานที่จำหน่ายถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทายาทประธานกลุ่ม เผย ระยะหลังเจ้าหน้าที่รัฐไม่แนะนำสถานที่จำหน่าย ตลาดจึงมีเพียงในจังหวัดเพชรบุรีเท่านั้นทำให้ยอดขายตกลงเห็นได้ชัด หาทางขยับไปออกงานกรุงเทพฯ จนสำเร็จ

จากความโดดเด่นของเห็ดหย็อง ทำให้กลุ่มสตรีฯ นำออกจำหน่าย สถานที่แรก คุณนิดบอกว่า คือศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถือว่าประสบความสำเร็จชาวญี่ปุ่นชอบ สั่ง 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท แต่ทว่าหลังจบงานลูกค้าโทรศัพท์มาติว่า เห็ดทอดถ้ารับประทานไม่หมดจะอมน้ำมันหากไม่หาวิธีแก้จะไม่สั่งซื้อต่อทั้งหมด

"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อน และตู้อบ ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"คุณนิด ระบุ



[b]ทายาทรับช่วงต่อ

กิจการดี อนาคตไกล [/b]

ธุรกิจกำลังดำเนินได้ด้วยดี อีกทั้งหลายหน่วยงานเชิญคุณสุมลประธานกลุ่มเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าเสมอ แต่วันหนึ่งต้องมาสะดุดเพราะอะไร ลูกสาวเผยด้วยความรู้สึกเสียใจว่า

"ปี 2545คุณพ่อเสียชีวิต จากนั้น 2 ปี แม่เสียชีวิตตามเหมือนว่าครอบครัวขาดเสาหลัก เพราะทุกอย่างที่ผ่านมา แม่เป็นต้นคิดพอขาดแม่ รู้สึกหมดกำลังใจ ไม่อยากทำต่อ แต่ด้วยความสนับสนุนและแรงศรัทธาจากลูกค้า ที่ยังสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่องทำให้รู้สึกว่าเหล่าเมนูเห็ดที่แม่สร้างไว้ ยังเป็นที่ต้องการทั้งหมดเลยเป็นแรงผลักดัน ให้สานกิจการต่อจวบจนปัจจุบัน"

เมื่อขจัดความท้อแท้สิ้นหวัง คุณนิด เผย เข้ารับช่วงต่ออย่างเต็มความสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนผลักดันสินค้าเข้าจำหน่าย ณ ห้างสรรพสินค้าร้านโกลเด้นเพลส ร้านจิตรลดา ดอยคำ ออกบู๊ธตามงานแสดงสินค้ารวมถึงส่งจำหน่ายต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษและออสเตรเลีย สร้างรายได้เข้ากลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทถามว่าประสบความสำเร็จแล้วหรือไม่ เธอตอบ ช่วงแรกดี แต่ระยะหลังประสบปัญหาหลักๆ คือ ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ประกอบกับไม่ขึ้นราคาจึงทำให้กำไรลดลงเท่าตัว

"1-2 ปี ที่ผ่านมา วัตถุดิบหลัก อาทิเห็ดนางฟ้า เครื่องปรุงรส แก๊สหุงต้ม กล่องบรรจุ ยกขบวนกันขึ้นราคายิ่งช่วงฤดูร้อนและหนาว เห็ดที่กลุ่มเพาะไว้ จะไม่ออกดอกทำให้ต้องรับซื้อจากจังหวัดใกล้เคียง ราคากิโลกรัมละ 35 บาทซึ่งแต่ละวันกลุ่มต้องใช้เห็ดทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม เนื่องจากเห็ดนางฟ้าสด5 กิโลกรัม หลังตัดโคนฉีกฝอยแล้ว สามารถทำเห็ดหย็องได้เพียง 9 ขีดอีกทั้งเพื่อให้ได้คุณภาพ ตลอดจนเน้นสุขภาพผู้บริโภคเป็นหลัก น้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำเพียง 2 ครั้งเท่านั้นซึ่งเมื่อรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จแทบไม่เหลือกำไร ขณะนี้เร่งหาหนทางแก้ไขคือพยายามลดต้นทุนแฝง เช่น หาบรรจุภัณฑ์ที่ประหยัดขึ้นและจัดกระบวนการขนส่งสินค้าให้ดี"

ถามราคาจำหน่ายที่คุณนิดบอกตั้งแต่แปรรูปเห็ดนางฟ้ามากว่า 8 ปี ไม่เคยขึ้นราคาและกลุ่มลูกค้าเธอระบุว่า เห็ดหย็องหรือเห็ดนางฟ้าสามรส ขีดละ 25 บาท ส่วนเมนูอื่นอาทิทองพับเห็ดนางฟ้า น้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้า น้ำพริกตาแดงเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าแดดเดียว มีตั้งแต่ราคา 25-45 บาท สำหรับสัดส่วนลูกค้า คนไทย 70เปอร์เซ็นต์ ต่างชาติ 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ช่วงเทศกาลกินเจจะขายดีที่สุด

เท่าที่สังเกตทางกลุ่มเน้นเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้แก่สถานศึกษาและกลุ่มคนที่สนใจ จนทำให้เมนูชนิดนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศก่อให้เกิดคู่แข่งขันตามมาหรือไม่ ตรงนี้ คุณนิด ระบุชัดเจนว่า"ไม่เคยหวงวิชาและเคล็ดลับต่างๆ เนื่องจากอยากให้คนมีอาชีพ เท่าที่สังเกตมีผู้ประกอบการทำขายทุกภาค เช่น ขอนแก่น ระยอง พัทลุง แต่อยากบอกว่ากลุ่มเราเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย ดังนั้น เมนูใหม่ๆเราเป็นผู้คิดริเริ่มตลอด"

ทุกวันนี้แม้คุณนิดจะรับหน้าที่ทั้งหาคำสั่งซื้อ หาสถานที่จำหน่ายประชาสัมพันธ์สินค้า และเพาะเห็ด แต่เธอก็มิได้ตั้งตัวเป็นประธานกลุ่มเป็นเพียงสมาชิกคนหนึ่งที่คอยอาสาตัว ช่วยเหลือสมาชิกท่านอื่นๆรวมถึงตอบแทนสังคมโดยเป็นตัวแทนไปบรรยายความรู้กรรมวิธีการแปรรูปเห็ดนางฟ้าแก่หน่วยงานที่สนใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการมีอาชีพ

ถึงตรงนี้ เส้นทางเศรษฐี ว่าผู้อ่านคงทราบข้อมูลของผู้ประกอบการท่านนี้กันอย่างจุใจแต่หากสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณนิดได้ที่กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา (เห็ดนางฟ้าแปรรูป) เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนามตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ (032) 455-040(081) 843-8673 และ (02) 994-9303

[b]ทั้งนี้ ก่อนจากกันไปคุณนิดฝากเมนูที่ทำจากเห็ดนางฟ้าง่ายๆ นั่นคือ ทอดมันเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าสามรส และเห็ดนางฟ้าแดดเดียว ส่วนผสมและขั้นตอนทำคร่าวๆ ดังนี้ [/b]



[b]ทอดมันเห็ดนางฟ้า [/b]

ส่วนประกอบ เนื้อปลาอินทรีบด เครื่องแกงเผ็ด เห็ดนางฟ้าสดฉีกฝอย น้ำตาลปี๊บ ใบกะเพรา ถั่วฝักยาวหั่นแว่น และน้ำปลา

วิธีทำ นำเนื้อปลาอินทรีสดบดละเอียดผสมกับเครื่องแกงเผ็ดคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลาถั่วฝักยาว เห็ดนางฟ้า ใบกะเพรา คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนเริ่มเหนียว นำลงทอดในน้ำมันถั่วเหลืองเวลาสุกจะมีสีเหลืองกรอบน่ารับประทาน



[b]เห็ดนางฟ้าสามรส[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้าสด น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว น้ำมันถั่วเหลือง

วิธีทำ นำเห็ดนางฟ้าสดสะอาดฉีกเป็นฝอย นำไปผึ่งในที่ร่มจนน้ำสะเด็ดจากนั้นนำเห็ดและส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะที่เตรียมไว้ลงทอดในน้ำมัน เวลาทอดควรใส่ใบเตยเพื่อให้มีกลิ่นหอมใช้ไฟแรงในช่วงเริ่มทอด ค่อยๆ รี่ลงเมื่อแน่ใจว่ากระทะร้อนทอดไปจนกระทั่งเห็ดมีสีเหลืองกรอบและสุก จากนั้นตักลงมาพักไว้ในตะแกรงรอสะเด็ดน้ำมัน ซับด้วยกระดาษซับน้ำมันอีกครั้ง แล้วนำเห็ดเข้าตู้อบตั้งอุณหภูมิที่ 30-40 องศาฟาเรนไฮต์ อบนาน 20-25 นาทีถ้าให้ดีควรใช้เครื่องเหวี่ยงน้ำมันเพื่อให้เห็ดคงความกรอบและรสชาติที่อร่อย



[b]เห็ดนางฟ้าแดดเดียว[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้า น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว พริกไทยป่น กระเทียมบดละเอียด งาขาวคั่วใช้โรยตามความต้องการ

วิธีทำ การทำเห็ดนางฟ้าแดดเดียว จะเหมือนกับการทำเห็ดนางฟ้าสามรสทุกขั้นตอนแตกต่างกันตรงส่วนผสมที่นำมาคลุกเคล้ากับเห็ดแต่เห็ดนางฟ้าแดดเดียวเมื่อทำเสร็จให้โรยด้วยงาขาวคั่วด้านบนเล็กน้อยให้แลดูสวยงาม

แหล่งที่มาจาก เส้นทางเศรษฐี

การเพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า


เห็ดนางรม เป็นเห็ดที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับเห็ดนางฟ้า ดอกเห็ดมีสีขาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ลักษณะดอกคล้ายเห็ดนางฟ้าแต่มีขนาดเล็กกว่า ชอบอากาศเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 25o C อากาศถ่ายเทได้ดี มีลักษณะการออกดอกเป็นชุดๆพร้อมกัน ช่วงที่อากาศหนาวจะไม่ออกดอก เป็นเห็ดที่มีลักษณะนิสัยเหมือนเห็ดนางฟ้าเกือบทุกประการ การนำไปใช้ประโยชน์ก็เช่นเดียวกับ เห็ดนางฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารหรือการแปรรูป ต่างกันเพียงเห็ดนางฟ้าดอกใหญ่หลังดอก สีเทา แต่เห็ดนางรมหลังดอกสีขาวดอกเล็กเป็นกระจุก เห็ดนางรมเป็นหนึ่งในบรรดาเห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติก ซึ่งใช้วัสดุเพาะที่สำคัญ คือ ขี้เลื่อย โดยเฉพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา(1) ซึ่งในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกนี้ มีวิธีการเพาะที่สามารถจะช่วยประหยัด และลดค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตในการเพาะเห็ดได้ ด้วยการใช้ก้อนวัสดุเพาะเห็ดเดิมที่ยังไม่หมดคุณภาพ(ไม่มีสีดำ) มาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่(ขี้เลื่อยใหม่) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้เห็ดสามารถออกดอกได้ดีขึ้นการเพาะเห็ดด้วยวิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆที่นิยมเพาะโดยใช้ถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เป็นต้น

คุณชอ้อน แย้มอุ่ม เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาบ้านโป่ง อยู่บ้านเลขที่ 11 ม.3 ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผู้มีอาชีพเพาะเห็ดนางรมฮังการี จำนวน 5 โรง เป็นโรงเรือนขนาดเล็ก (วัสดุ เพาะเห็ด 8,000 ก้อน) จำนวน 3 โรง โรงเรือนขนาดกลาง (วัสดุเพาะเห็ด 10,000 ก้อน) จำนวน 1 โรง และโรงเรือนขนาดใหญ่(วัสดุเพาะเห็ด 12,000 ก้อน)จำนวน 1 โรง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เดิมเพาะเห็ดนางรมภูฏานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2539 และมาเปลี่ยนเป็นเห็ดนางรมฮังการี เมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณชอ้อนมีเทคนิควิธีในการลดค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดแบบถุงในโรงเรือน ด้วยการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่ ซึ่งนอก จากจะช่วยประหยัดค่าวัสดุเพาะเห็ดแล้ว ยังสามารถช่วยให้เห็ดออกดอกได้ดีขึ้น เชื้อเห็ดไม่มีการพักตัวหลังเก็บในครั้งแรก สามารถเก็บดอกเห็ดได้ตลอด โดยปกติเห็ดจะมีการพักตัวประมาณ 1 เดือนหลังออกดอกในชุดแรก สำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อันได้แก่ ขั้นตอน วิธีการ ช่วงระยะเวลาในการผลิต เทคนิควิธีการผลิตเฉพาะตัวที่สำคัญและน่าสนใจ การขายผลผลิต(การตลาด) รายได้–ค่าใช้จ่ายในการผลิต และปัจจัยที่มีผลกระทบในการเพาะเห็ดโดยใช้วัสดุเพาะเห็ดเก่าผสม

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก
ปัจจุบันการหาไม้มาเพาะเห็ดหูหนู อาจยุ่งยากมาก ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องเพาะบนไม้ก็ได้
โดยจะเปิดถุงให้ดอกเห็ดออกบนถุงเชื้อเสียเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องการที่จะเห็ดให้ออกดอกบนถุงไม้
เหมือนเห็ดอื่น ๆ
ที่จะต้องเปิดให้ออกดอกตรงปากถุง แต่ในกรณีเห็ดหูหนูถ้าจะเปิดเอาดอกแล้วหลังจากเส้นใยเดินเต็มถุง
แล้วปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดมารวมตัวกันเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม
สีออกเหลืองจึงเอาถุงที่ซื้อมา
แล้วถอดคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดโกนคม ๆ กรีดข้างถุงให้เป็นแนว
ยาวประมาณ 6-8 แถว การกรีดถุงควรกรีดในลักษณะเฉียงลง แบบกรีดต้นยางพาราจะดีกว่ากรีดตามแนวดิ่ง
เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีกว่า
ควรกรีดให้ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร โดยรอบประมาณ 15-20 แผล หรือกรีดรูปกากกะบาทเล็ด ๆ
รอบถุง จากนั้นจึงนำถุงเห็ดไปวางบนชั้น หรือแขวนในโรงเรือนเห็ด ซึ่งมีขนาด 4 x 6 x 2.5 เมตร
หลังคารูปจั่ว โรงเรือนนี้สามารถเก็บความชื้นได้ดี
การรดน้ำควรใช้เครื่องฉีดชนิดพ่นฝอยฉีด การรดน้ำควรให้อย่างสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อวันปฎิบัติ
เช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเก็บผลผลิต
การเก็บผลผลิตจะพบว่าดอกเห็ดหูหนูเมื่อเกิดระยะแรกขอบจะหนาและโค้งคล้ายถ้วย
เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ขอบของดอกเห็ดจะบางโค้งเป็นลอน ถ้าดึงจะหลุดได้ง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่เก็บได้
การเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่พร้อมกันแล้ว
ใช้มือรวบแล้วดึงเบา ๆ นำมาตัดก้านพร้อมทั้งเศษวัสดุที่ติดมาด้วยออกทิ้ง บางแห่งการเก็บผลผลิตจะเก็บ
เฉพาะดอกแก่ก่อนส่วนที่เหลือก็รอเก็บในวันถัดไป วิธีนี้ถึงแม้เสียเวลาในการเก็บบ้าง แต่ก็สามารถเก็บ
ได้ทุกวัน ก้อนเชื้อที่ทำการเก็บผลผลิตไปแล้วนั้นหากพักการรดน้ำประมาณ 5-8 วัน แล้วทำการรดน้ำ
ใหม่ก็จะทำให้ดอกเห็ดออกเร็วยิ่งขึ้น ผลผลิตของเห็ดหูหนูที่ได้ ถ้าถุงขนาด 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิต
โดยเฉลี่ยประมาณ 400-700 กรัม ใช้เวลาเก็บประมาณ 2-2.5 เดือน

2. การเพาะเห็ดหูหนูในท่อนไม้
ไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ แต่ไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลามากไม้ที่ได้ทดลองแล้วให้ผลคุ้ม
ค่าต่อการลงทุน ได้แก่ ไม้แค มะม่วง นนทรี พลวง ไทร ไคร้น้ำ ขนุน มะยมป่า มะกอง เหียง โพธิ์ป่า
ทองกวาว จามจุรีและยางพารา นอกจากนี้ยังมีไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้พอสมควร แต่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือ
ไม้ก้ามปูและนุ่น สำหรับไม้เนื้อแข็งที่ใช้ได้ดีได้แก่ไม้กระถิ่นณรงค์ สะแก ฝรั่ง ลินทนิล ไม้ที่มช้เพราะเห็ด
ควรจะหาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูกไม้บางชนิดเป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้มะม่วง ก็ไม่ควรตัดเอามา
เพราะเห็ด นอกจากเป็นไม้ที่ไม่ใช้แล้ว จึงจะได้ประโยชน์มาก

หลักในการคัดเลือกและตัดไม้สำหรับเพาะเห็ดหูหนู
1.ไม้ที่จะนำมาใช้เพาะควรเป็นไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ สด ๆ ใช้เพาะทันที สำหรับไม้เนื้ออ่อนทั่วไปไม่ควร
ตัดทิ้งไว้เกิน 2 สัปดาห์และสำหรับไม้ที่มียางไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์
2.ควรตัดไม้มาทำการเพาะเห็ดในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งนี้เพราะในฤดูนี้ไม้จะสะสมอาหารมาก
และเมื่อใส่เชื้อเห็ดลงไปแล้ว จะมีเชื้อเห็ดชนิดอื่นปลอมปนน้อยที่สุด
3.อายุของไม้นั้นให้ถือหลักที่ว่า ถ้าไม้อายุน้อยจะได้ผลผลิตเร็วและหมดเร็ว ถ้าหากเป็นไม้แก่
เชื้อเห็ดจะเจริญเข้าไปช้า ออกดอกช้า แต่เก็บผลผลิตได้นาน อายุของไม้ที่พอเหมาะสำหรับไม้เนื้ออ่อน
ควรอยู่ระหว่าง 3-5 ปี
4.ไม้ที่มียางควรตัดทิ้งไว้ให้ยางเสื่อมเสียก่อน เช่น ไม้ขนุน ยางพารา ไทร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
ถ้าจะให้ยางหมดเร็วให้ตัดปลายไม้เล็กน้อย แล้วใช้ส่วนที่ถูกตัดออกมาถูกับท่อนไม้ไปมาจะทำให้ยางออกเร็ว
ยิ่งขึ้น
5.ถ้าไม้นั้นเป็นไม้ที่ตายยาก เช่น ไม้ทองหลาง นุ่น มะกอก เมื่อตัดมาแล้วควรปอกเปลือกแล้วผึ่งไว้
ให้ผิวนอกแห้งเสียก่อนประมาณ 1-2 วัน
6.ถ้าไม้เปียกฝนต้องผึ่งให้แห้งเสียก่อน อย่างเจาะรูใส่เชื้อขณะที่ยังเปียกอยู่
7.การตัดไม้พยายามอย่าให้เปลือกช้ำเป็นอันขาด ถ้าเปลือกไม้ช้ำควรเอาปูนขาวชุบน้ำทา
หรือใช้ปูนสำหรับเคี้ยวหมากทาก็ได้ ถ้ามีกิ่งก้านเล็ก ๆ ติดมาด้วยให้ตัดทิ้ง และใช้ปูนขาวทารอยแผลเสียก่อน
8.ขนาดของไม้ใช้ได้ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป จนกระทั่งถึงขนาดโตที่สุด
แต่ไม้ที่มีขนาดเหมาะสมที่สุด คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10-20 เซนติเมตร
9.ท่อนไม้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร

การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย


การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง


1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขามรองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65%

2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ

4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผล




1. ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออก ส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว

2. บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน อัดแน่นพอประมาณ ถุงละ 1/2 กก.- 1 กก. ใส่คอขวดปิดจุกสำลี และปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ

3. แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (หรือใช้ถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอ เป็นเวลา2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลาด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถังนึ่ง 85-100 องศาเซลเซียสตลอดเวลา) แล้วทิ้งให้เย็น

4. แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสำลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทำในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนำไปบ่มเส้นใย
ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 3-4 เดือน ขึ้นกับน้ำหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอกประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้อ
การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทำห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทำจากหญ้าคา, จากฟาง, ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้น้ำภายนอกโรงเรือน หรือบริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราวเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส

ระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติ คือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเห็ด ถ้ามีความจำเป็นต้องให้น้ำโรงเรือนต้องระวังมิให้น้ำถูกสำลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทำให้เกิดเชื้อโรคไป ทำลายเชื้อเห็ดได้

ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างดอกเห็ดและการเจริญของดอกเห็ด อยู่ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลำดับ การผ่านลมเย็นในขณะดอกเห็ดเจริญ จะทำให้หมวกเห็ดแตก คล้ายกับดอกเห็ดหอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ

การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทำให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลง ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวดเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่น ๆ



ช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มือและยังช่วยให้หมวดเห็ดมีสีเข้มไม่จางซีด
หลังจากบ่มเส้นใยสมบูรณ์แล้ว ให้แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น 2 ชั่วโมง หรือค้างคืนก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก
โดยเปิดปากถุงให้ออกดอกทางด้านบนหรือเปลือยก้อนเชื้อโดยแกะถุงพลาสติกออกทั้งหมดให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ถ้าต้องการเห็ดดอกใหญ่ก็เปิดให้มีการเกิดดอกเป็นบางส่วน การเปลือยก้อนเชื้อจะได้ดอกเห็ดจำนวนมากแต่ดอกจะเล็ก และอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย ผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัมต่อก้อนเชื้อ 1/2 - 1 กก. ขึ้นกับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเหในการเก็บผลผลิตนั้น ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ หรือขอบหมวกยังงุ้มอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ และอย่าได้ส่วนของดอกเห็ดเหลือติดอยู่ที่ก้อนเชื้อ จะทำให้เน่าเสียและเกิดโรค ในขณะที่เก็บผลผลิตถ้ามีการให้น้ำที่ดอกเห็ดมากเกินไปจะทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียง่าย ถ้าไม่มีการให้น้ำดอกเห็ดเมื่อเก็บดอกเห็ดแล้วใส่ถุงพลาสติกไว้จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์
โดยตากแดด จนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงตากแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ดอกเห็ดไหม้เกรียมและควรคว่ำดอกเห็ดให้ครีบอยู่ด้านใต้ เพื่อป้องกันครีบสีคล้ำ การตากแดดเป็นวิธีลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ดอกเห็ดยุบตัวมากเมื่อดอกเห็ดแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้น มิฉะนั้นอาจจะมีเชื้อราเกิดขึ้นได้
ใช้ลมร้อนค่อย ๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ด ซึ่งจะได้เห็ดที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเห็ดที่ตากแดด การอบใช้อุณหภูมิ เริ่มแรกประมาณ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละ 1-2 องศา ทุก 1 ชั่วโมง จนถึง 50 องศาแล้วเพิ่มให้เป็น 60 องศาและรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่น และทำให้ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเงาสวยงาม

การเพาะเห็ดภูฐาน

นายขจร คมกล้า และนางพวงรัตน์ คมกล้า บ้านเลขที่ 53/3 หมู่ที่ 4 ตำบลไทรโสภา อำเภอพระแสง ซื้อเชื้อเห็ดถุงมาเลี้ยงเมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2550 โดยการแนะนำจากญาติ จึงตัดสินใจสั่งซื้อเชื้อเห็ดโดยที่ไม่เคยดูตัวอย่างจากที่ใดมาเลย แต่พยายามทำตามคำแนะนำของญาติ การสร้างโรงเรือนก็ทำตามคำบอกเล่า สั่งซื้อเชื้อเห็ดครั้งแรก 5,000 ก้อน เป็นเงิน 35,000 บาท ( เห็ดราคาก้อนละ 7 บาท )
การจัดชั้นวางเห็ด
- ชั้นที่ 1 ห่างจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร และวางเห็ดซ้อนกันขึ้นไปอีก 6-7 ชั้น หรือตามความ
สะดวกในการปฏิบัติงาน
- ชั้นล่างพื้นใช้ทรายโรยให้หนารดน้ำให้ชุ่ม เพราะทรายจะเป็นตัวเก็บความชื้นไว้ได้ดีในช่วงฤดูแล้ง
ทำให้โรงเรือนมีความชื้นสม่ำเสมอ
- หลังจากจัดชั้นวางเชื้อเห็ดเรียบร้อย หมั่นรดน้ำทุกวัน( วันละ 3 ครั้ง เช้า – เที่ยง – เย็น )

โดยไม่ให้ถูกปากถุง
- อีก 7 วันต่อมาจึงเปิดปากถุงเห็ด
- หมั่นรดน้ำทุกวัน( วันละ 3 ครั้ง เช้า – เที่ยง – เย็น )

- ประมาณ 10-15 วัน เห็ดจะทะยอยออกดอกออกมาเรื่อย ๆ
- เชื้อเห็ดดีและการปฏิบัติดูแลรักษาดีจะทำให้สามารถเก็บเห็ดได้นานถึง 7 เดือน
- เห็ดจะออกดอกมากสูงสุดประมาณวันละ 30 กก
- ในช่วง 4 เดือนแรก เห็ดจะออกดอกดีมาก หลังจากนั้นจะทะยอยลดลงเรื่อย ๆ
- การเก็บเห็ด เก็บช่วงเช้า เวลา 06.00 น. บ่าย เวลา 14.00 น.และเวลากลางคืน 20.30 น
- ใช้ฮอร์โมนและน้ำสกัดชีวภาพในการช่วยให้ดอกเห็ดมีขนาดโตและเป็นการยืดอายุการเก็บเห็ดให้
นานขึ้น
- จุดคุ้มทุน เดือนครึ่ง ที่เหลือคือกำไร
- ตลาดขายส่งอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานีและอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่
- การวางแผนการผลิต รุ่นแรกลงเชื้อเห็ด 3,000 ก้อน รุ่นที่ 2 ลงเชื้อเห็ด 2,000 ก้อน
ใช้เวลาห่างกันแต่ละรุ่น 1 เดือนครึ่ง
การทำฮอร์โมนเร่งดอก
- ใช้นมสด (ตราเหยี่ยว) อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ ครึ่งลิตร ( 500 ซี.ซี)
ผสมนมสดและน้ำตาลทรายกวนให้เข้ากัน เติมน้ำครึ่งลิตร ใส่กระบอกน้ำฉีดพ่นที่ปากถุงเห็ด ฉีด 20 วันครั้ง หรือดูว่าผลผลิตเริ่มลดลง เช่น ดอกเล็ก ดอกผอม ใช้สลับร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมด้วยจะทำให้ตีนเห็ดโต ดอกโตและอวบขึ้น ยืดอายุการเก็บเห็ดเพิ่มการทำน้ำหมักชีวภาพ

- น้ำ 100 ลิตร
- อีเอ็ม 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 2 ลิตรครึ่ง
นำทั้ง 3 ส่วนผลมเข้าด้วยกัน หมักนาน 15 วัน กวนทุกวันปิดปากถังให้มิด หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปทุกวัน วันละ 5 ลิตรจนครบ 200 ลิตร นำเศษเห็ดที่เหลือ เช่น ตีนเห็ด เศษเห็ด ไปหมักในถังน้ำหมักชีวภาพ
วิธีใช้
ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ( หากเข้มข้นเกินให้ปรับลดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามความเหมาะสม ) ฉีด 2-3 วัน/ครั้ง ใส่กระบอกฉีดพ่นฝอยบริเวณปากถุง ไม่ควรฉีดใกล้ปากถุงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นตามมาได้

ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า

การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1) การผลิตเชื้อวุ้น 2)การทำหัวเชื้อเห็ด 3)การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ 4)การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 - 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้ ซึ่งระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้

1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด

2. ผลิตดอกเห็ดขาย 90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำ ได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ไม่ขาดทุนมาก

3. ผลิตถุงเชื้อเห็ด ถ้าตลาดรับซื้อเห็ดและถุงเชื้อมากพอ จึงตั้งหน่วยผลิตถุงเชื้อได้ แต่ถ้าคำนวณว่าซื้อถุงถูกกว่าผลิตเองก็ไม่ควรทำ ควรไปดูฟาร์มทำถุงเชื้อหลาย ๆ ฟาร์ม แล้วมาคำนวณว่าเครื่องมือและวิธีการแบบใดดีที่สุด เตรียมการเอาคนคุมงานไปฝึกงานในฟาร์ม หรือติดต่อจ้างคนชำนาญในฟาร์มเก่ามาทำฟาร์มใหม่ ขั้นตอนนี้ก็ควรซื้อเชื้อข้าวฟ่าง ยังไม่ควรทำเอง การลงทุนขนาดเล็กจะใช้หม้อต้มไอน้ำต่างหาก (สตีมเม่อร์) แล้วต่อท่อมาอบถุงขี้เลื่อยในอีกหม้อต่างหาก ถ้างานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นสมควร แล้วค่อยผลิตเชื้อข้างฟ่างและซื้อวุ้นต่อไป

4. ผลิตเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่าง เริ่มทำเมื่องานฟาร์มมีขนาดใหญ่มาก สำหรับระยะ 1 - 2 ปี ที่ผ่านมานั้นถ้ายังไม่ทำเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่างมาก่อน ก็ไม่ควรทำขึ้นใหม่ มีผู้ทำขายมากอยู่แล้ว ซื้อเขาใช้ดีกว่า นอกจากจะห่างไกลซื้อยากจริงๆ แล้วต้องใช้มากจึงค่อยทำ