วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า


เห็ดนางรม เป็นเห็ดที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับเห็ดนางฟ้า ดอกเห็ดมีสีขาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ลักษณะดอกคล้ายเห็ดนางฟ้าแต่มีขนาดเล็กกว่า ชอบอากาศเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 25o C อากาศถ่ายเทได้ดี มีลักษณะการออกดอกเป็นชุดๆพร้อมกัน ช่วงที่อากาศหนาวจะไม่ออกดอก เป็นเห็ดที่มีลักษณะนิสัยเหมือนเห็ดนางฟ้าเกือบทุกประการ การนำไปใช้ประโยชน์ก็เช่นเดียวกับ เห็ดนางฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารหรือการแปรรูป ต่างกันเพียงเห็ดนางฟ้าดอกใหญ่หลังดอก สีเทา แต่เห็ดนางรมหลังดอกสีขาวดอกเล็กเป็นกระจุก เห็ดนางรมเป็นหนึ่งในบรรดาเห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติก ซึ่งใช้วัสดุเพาะที่สำคัญ คือ ขี้เลื่อย โดยเฉพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา(1) ซึ่งในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกนี้ มีวิธีการเพาะที่สามารถจะช่วยประหยัด และลดค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตในการเพาะเห็ดได้ ด้วยการใช้ก้อนวัสดุเพาะเห็ดเดิมที่ยังไม่หมดคุณภาพ(ไม่มีสีดำ) มาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่(ขี้เลื่อยใหม่) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้เห็ดสามารถออกดอกได้ดีขึ้นการเพาะเห็ดด้วยวิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆที่นิยมเพาะโดยใช้ถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เป็นต้น

คุณชอ้อน แย้มอุ่ม เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาบ้านโป่ง อยู่บ้านเลขที่ 11 ม.3 ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผู้มีอาชีพเพาะเห็ดนางรมฮังการี จำนวน 5 โรง เป็นโรงเรือนขนาดเล็ก (วัสดุ เพาะเห็ด 8,000 ก้อน) จำนวน 3 โรง โรงเรือนขนาดกลาง (วัสดุเพาะเห็ด 10,000 ก้อน) จำนวน 1 โรง และโรงเรือนขนาดใหญ่(วัสดุเพาะเห็ด 12,000 ก้อน)จำนวน 1 โรง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เดิมเพาะเห็ดนางรมภูฏานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2539 และมาเปลี่ยนเป็นเห็ดนางรมฮังการี เมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณชอ้อนมีเทคนิควิธีในการลดค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดแบบถุงในโรงเรือน ด้วยการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่ ซึ่งนอก จากจะช่วยประหยัดค่าวัสดุเพาะเห็ดแล้ว ยังสามารถช่วยให้เห็ดออกดอกได้ดีขึ้น เชื้อเห็ดไม่มีการพักตัวหลังเก็บในครั้งแรก สามารถเก็บดอกเห็ดได้ตลอด โดยปกติเห็ดจะมีการพักตัวประมาณ 1 เดือนหลังออกดอกในชุดแรก สำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อันได้แก่ ขั้นตอน วิธีการ ช่วงระยะเวลาในการผลิต เทคนิควิธีการผลิตเฉพาะตัวที่สำคัญและน่าสนใจ การขายผลผลิต(การตลาด) รายได้–ค่าใช้จ่ายในการผลิต และปัจจัยที่มีผลกระทบในการเพาะเห็ดโดยใช้วัสดุเพาะเห็ดเก่าผสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น