วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน


การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยและแบบกองสูง เป็นการเพาะเห็ดที่เรียบง่าย เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะไม่ต้องลงทุนมาก แต่เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตไม่แน่นอนต้องอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศไม่สามารถผลิตเห็ดให้มีคุณภาพสูงพอที่จะส่งออกเป็นอุตสาหกรรมได้ จึงได้มีการศึกษาวิธีเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลผลิตสูง มีความสม่ำเสมอแน่นอนตามเวลาที่ต้องการ และสามารถผลิตเห็ดได้ตลอดปี สามารถทำเป็นการค้าโดยวิธีการเพาะเห็ดแบบโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้

โรงเรือนที่ใช้เฉพาะและการจัดสร้าง

โรงเรือนที่จะใช้เพาะเห็ดฟางนั้น ควรคำนึงถึงความเป็นจริงที่มีการปฏิบัติกันอยู่แยกออกเป็น

1. โรงเรือนหลัก ควรเป็นโรงเรือนแบบถาวร หลังคาอาจมุงด้วยจากหรือหญ้าคาขนาดโรงเรือนควรสร้างให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนของห้อง 1 โรงเรือน จะมีหลายห้องหรือห้องเดียวก็ได้ พื้นโรงเรือนถ้าเป็นพื้นดินก็ควรอัดให้แน่น หรือเป็นพื้นคอนกรีตก็จะดี เพื่อสะดวกต่อการทำความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด ควรเป็นโรงเรือนที่ปิดมิดชิด สามารถอบไอน้ำฆ่าเชื้อเก็บอุณหภูมิและความชื้นได้ วัสดุที่ใช้อาจเป็นคอนกรีต อิฐบล๊อค กระเบื้องเรียบหรือใช้โครงไม้ไผ่บุกด้วยผ้าพลาสติกหนาให้สามารถเก็บรักษาความชื้นได้ ขนาดของโรงเรือนกว้าง ยาว สูง 5 X 8 X 3 เมตร หรือ 4 X 6 X 2.5-3 เมตร หลังคาทรงหน้าจั่วทำด้วยจาก บุด้วยผ้าพลาสติก พื้นโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต มีประตูทางเข้าออกด้านละ 1 ประตู โรงเรือนเพาะนี้ต้องมีช่องสำหรับระบายอากาศอยู่บริเวณหน้าจั่วกว้างประมาณ 40 X 60เซนติเมตร และมีช่องสำหรับส่งไอน้ำผ่านเข้าไปในโรงเรือนได้ อย่างไรก็ดีรูปแบบและขนาดของโรงเรือนตลอดจนวัสดุที่ใช้อาจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามความรู้และเครื่องมือที่สร้างขึ้น

2. โรงเรือนรอง หรือชั้นวางเพาะเห็ด ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร โดยสร้างให้มีชายยื่นออกมาข้างละ 50 เซนติเมตร ยาว 4 เมตร และสูง 1.80 เมตร โดยแบ่งชั้นเพาะเห็ดออกเป็น 2 ข้าง ๆ ละ 4 ชั้น แต่ละชั้นห่างกัน 50 เซนติเมตร ชั้นแรกอยู่สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร ชั้นที่ 4 สูงจากพื้น 1.80 เมตร ชั้นวางเพาะเห็ดนี้ควรทำด้วยเหล็กหรือไม้ไผ่ก็ได้

ผ้าพลาสติก ลักษณะคล้ายกับถุงเคลือบ เย็บและบุภายในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิ

อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อให้การดำเนินการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ควรมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

1. พัดลมดูดเป่าและระบายอากาศ เป็นพัดลมทรงกระบอกธรรมดา ขนาดใบพัด 16-20 เซนติเมตร แต่ดัดแปลงทำกล่องสังกะสีสวมปากทางลมออก โดยให้มีลมออกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งต่อเข้าภายในโรงเรือน อีกทางหนึ่งออกภายนอก ทั้งสองจะมีลิ้นปิดเปิด ส่วนทางดูดลมก็เช่นเดียวกันคือทำทางดูด 2 ทาง ต่อเข้าภายในด้านหนึ่ง อีกข้างหนึ่งอยู่ข้างนอก และมีลิ้นปิดเปิดเช่นกัน สำหรับทางลมออกก็ต่อเข้าภายในโรงเรือนโดยต่อขึ้นไปข้างบนขนานกับสันจั่ว อาจทำด้วยท่อเอสล่อนหรือใช้ผ้าพลาสติกเย็บให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางพอสวมปากท่อได้ ตรงท่อที่ขนานจั่วนั้นต้องทำการเจาะรูขนาดเท่ามวนบุหรี่เพื่อให้อากาศออก

แปลงโฉมเห็ดนางฟ้า

[font=Tahoma,][size=2][color=#000000]"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อนและตู้อบ ก็ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"



[b]เป็นที่รู้กันดี ว่าเมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉะนั้นผลผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งมีทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออกแต่ละปีรายได้จากการส่งออกหลั่งไหลเข้าประเทศไม่น้อยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามูลค่าสูงถึง1,129,206 ล้านบาท และยิ่งคราใดที่ฤดูกาลเป็นใจเอื้ออำนวยให้เหล่าเกษตรกรเพาะปลูก บรรดาพืชผักและผลไม้จะเพิ่มมากขึ้นจนบางคราวเกิดภาวะล้นตลาด แต่ไม่เป็นปัญหา เพราะได้กลุ่มแม่บ้านใช้ภูมิปัญญานำมาแปรรูป หรือเรียกอีกอย่างว่า การถนอมอาหารก่อเกิดรายได้เสริม จนหลายคนยึดเป็นอาชีพหลัก[/b]

ดั่งเช่นกลุ่มสตรีอาสาพัฒนา เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนาม ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูป จนกวาดรางวัลมานับไม่ถ้วน อาทิโอท็อป 5 ดาว, ชนะเลิศอันดับ 1เวทีประกวดการผลิตอาหารใส่เกลือไอโอดีนของจังหวัดเพชรบุรี,รางวัลอาหารแปรรูป จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เครื่องหมาย อย.และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น

แต่กว่ากลุ่มสตรีฯจะมารวมตัวเช่นทุกวันนี้ ต้นฉบับคิดค้นกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้าคือคุณสุมล ขันทองคำ ผู้ล่วงลับ ต้องผ่านมรสุมชีวิตเคยแม้กระทั่งทั้งครอบครัวเหลือเงินเพียง 3,000 บาท แต่เพราะความไม่ท้อแท้พยายามจนถึงที่สุด ทำให้ก่อนจากโลกใบนี้ไป เธอได้ฝากเมนูต่างๆล้วนทำจากเห็ด จนเป็นที่ยอมรับ และกล่าวขาน

เพื่อให้คุณผู้อ่านทราบเรื่องราวของครอบครัว "ขันทองคำ"และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้า เส้นทางเศรษฐีร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยหรือ SME BANKพาไปพูดคุยกับ คุณนิติมา ขันทองคำ ทายาทคนเดียวที่เข้มแข็งดำเนินกิจการท่ามกลางความรู้สึกสิ้นหวัง จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี



[b]จากชีวิตสุขสบาย

ใช้เห็ดนางฟ้าเลี้ยงครอบครัว [/b]

คุณนิติมา หรือ คุณนิด เท้าความกว่าจะมาเป็นเห็ดแปรรูป "คุณสุมล" ในวันนี้ว่า"พื้นเพเป็นคนเพชรบุรี แต่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จำความได้จนเรียนจบเลขานุการ พาณิชยการราชดำเนินช่วงเวลาดังกล่าวใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เนื่องจากที่บ้านมีกิจการส่วนตัวทั้งภัตตาคาร คาเฟ่ริมน้ำ และมีหุ้นอยู่ในบริษัทมันฝรั่งทอดแห่งหนึ่งจนกระทั่งปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจที่คุณพ่อคุณแม่สร้างมาล้มภายในพริบตา อีกทั้งสามีเสียชีวิตด้วยโรคร้าย เรียกว่าชีวิตช่วงนั้นแย่แทบทนไม่ไหว ทั้งครอบครัวเลยพร้อมใจเดินทางกลับบ้านเกิด"

เมื่อครอบครัว "ขันทองคำ" ปฏิเสธการใช้ชีวิตในเมืองหลวงแต่ใช่ว่าการกลับถิ่นกำเนิดครั้งนี้จะสุขสบาย เพราะคุณนิด เล่าว่าช่วงเวลานั้น ทั้งบ้านเหลือเงินเพียง 3,000 บาท ดังนั้นทุกบาททุกสตางค์จึงต้องใช้สอยอย่างประหยัดทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดรายจ่ายคือ ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานรวมถึงแบ่งส่วนหนึ่งไปจำหน่าย แต่ทว่ากำไรน้อยประกอบกับมีเพื่อนบ้านชวนให้เลี้ยงปลาดุกจำหน่าย เพราะลงทุนต่ำขายได้ราคาดี คุณแม่เลยกู้เงินคนรู้จัก 10,000 บาทขุดบ่อเลี้ยงปลาหลังบ้านขายในเวลาต่อมา

คุณนิด เล่าต่อว่าเลี้ยงปลาดุกอยู่ 6 เดือน ช่วงแรกขายดี สักพักคู่แข่งเริ่มเยอะอีกทั้งราคาปลาดุกตกต่ำ ขาดทุนจนต้องเลิก "จังหวะชีวิตเราไม่ค่อยดีตอนเลี้ยงปลาราคาดี แต่ผ่านไปสักระยะราคาตก ขาดทุน เบ็ดเสร็จเป็นหมื่นสู้ไม่ไหว สุดท้ายเลิกอาชีพแม่ค้าขายปลา"

ใช่ว่าชีวิตจะประสบแต่วิกฤต นี่คือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณสุมลพบโอกาสครั้งใหม่จากการบอกเล่าของทายาท ว่า "ปี 2542 เพื่อนบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้าขายแนะนำให้คุณแม่ลองเพาะ เนื่องจากลงทุนไม่สูง เพาะง่าย ให้ผลผลิตเร็วท่านสนใจซื้อเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน ก้อนละ 3 บาท มาเพาะแต่ละก้อนเพาะได้นาน 6 เดือน ปรากฏแต่ละวัน เห็ดนางฟ้าออกดอก 20กว่ากิโลกรัม ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้ว เห็ดนางฟ้ากิโลกรัมละ 25 บาทถือว่าราคาดีมาก ช่วงนั้นเลยเพาะเห็ดขาย เฉลี่ยครอบครัวมีรายได้ 500 บาทต่อวัน"

ทว่าเมื่อใดก็ตาม ที่สินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแถมหาง่าย ไม่แปลกที่คนจะแห่หันมาเพาะเห็ดนางฟ้าจำหน่าย ตรงนี้ คุณนิดเผยถึงปัญหาที่ตามมาว่า สินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ราคาเห็ดตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งกระทบโดยตรงต่อรายได้ ตลอดจนเห็ดที่เพาะไว้

"ขายเห็ดนางฟ้าสดได้ 4 เดือน ชาวบ้านละแวกนั้นเห็นว่าขายดีเลยหันมาเพาะเยอะมาก จนเห็ดเริ่มขายไม่ออก และเน่าเสียแม่เสียดาย เลยเอาเห็ดนางฟ้ามาทำเป็นอาหาร ทั้งต้มยำ ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันหอยสารพัดเมนูแต่ยังไม่หมด แช่ตู้เย็นก็กลัวเน่า ชั่วครู่คิดได้ว่าลองนำมาทำน้ำพริกมะขาม โดยใช้เห็ดแทนหมูสับ ทานกันในครอบครัว รู้สึกอร่อยเลยนำไปฝากนายอำเภอ ซึ่งท่านชิมแล้วชอบแนะนำให้ทำมาขายในงานประชุมประจำจังหวัด แม่ดีใจทำไปขายในราคากระปุกละ 10บาท ปรากฏขายดีมาก ตั้งแต่บัดนั้น เลยมีเมนูอื่นตามมา อาทิ น้ำพริกเผาเห็ดน้ำพริกตาแดงเห็ด"

ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสองแม่ลูกที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปจำหน่าย จากหน่วยงานราชการ เริ่มขยายสู่แหล่งอื่น อาทิสถานศึกษา และสถานที่ทำงานต่างๆ แต่เห็ดก็ยังเหลืออยู่ดี



[b]รวมกลุ่มเกิดปัญหา

แม่ไม่ท้อ เฟ้นหาสารพัดวิธี[/b]

ราวกับว่าโชคเข้าข้างคนขยัน คุณนิด เล่าว่า"คุณแม่บังเอิญพบแม่ชีท่านหนึ่งที่เขาวังซึ่งท่านแนะนำให้ลองนำเห็ดไปผัดกับน้ำตาล ซีอิ๊วขาว เรียกเห็ดหย็องใช้รับประทานกับข้าวต้ม แม่สนใจกลับมาลองทำ ปรากฏว่าอร่อย แต่วันรุ่งขึ้นเหนียว ไม่กรอบ น้ำมันไหลเยิ้ม พูดง่ายๆ ว่า ทำกินได้ ทำขายไม่ได้แต่ท่านไม่ล้มเลิก สรรหาวิธีมากมาย อาทิ ตากแดด คั่ว นึ่ง ลองผิดลองถูก 6เดือน จนสุดท้ายทราบเคล็ดลับทำให้กรอบ อร่อย"

ถามว่าเพราะเหตุใดเห็ดนางฟ้าจึงกรอบ และมีรสชาติคงเดิม คุณนิด เผยแบบไม่หวงว่า"แม่หวนนึกถึงกล้วยฉาบ เผือกฉาบ ทำอย่างไรถึงกรอบ จนกระทั่งพบว่าหัวใจสำคัญของความกรอบคือ ความสด ซึ่งหลังฉีกเห็ดนางฟ้าเป็นชิ้นและคลุกกับเครื่องปรุงรสคุณภาพดีแล้ว ต้องลงทอดในน้ำมันทันทีหากอยากให้เห็ดเก็บไว้รับประทานได้นาน น้ำมันที่ใช้ทอด ไม่ควรเกิน 2 ครั้งวิธีดังกล่าวจะช่วยยืดอายุเห็ดนาน 3 เดือน"

เมนูเห็ดหย็องลูกสาวเล่าต่อว่า ถูกคุณสุมลนำไปเสนอท่านนายอำเภออีกครั้งเพื่อการันตีความอร่อย ซึ่งครั้งนี้ท่านแนะนำให้ไปจำหน่ายในงานชายหาดชะอำปรากฏผลการตอบรับดีเกินคาดถึงขั้นมีสื่อทีวีท้องถิ่นมาขอถ่ายทำกรรมวิธีผลิต ทำให้ขายดิบขายดีลำพังแรงงานครอบครัวไม่พอ ผู้มีพระคุณแนะนำให้รวมกลุ่มขึ้นมา

"นายอำเภอเปรียบเสมือนผู้ที่คอยหาสถานที่จำหน่ายให้แก่ครอบครัวเราซึ่งท่านเห็นว่ามีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เกรงว่าจะผลิตไม่ไหวเลยแนะนำให้จัดตั้งกลุ่ม คุณแม่ไม่รอช้าชักชวนเพื่อนละแวกบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้ามารวมกลุ่มกัน ตั้งต้น 59 คนเก็บค่าใช้จ่ายไว้เป็นเงินหมุนเวียนเดือนละ 200 บาทแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด โดยคุณแม่รับหน้าที่ประธานกลุ่ม"

แต่แล้วไม่นานกลุ่มเกิดปัญหา สินค้าไม่มีสถานที่จำหน่ายถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทายาทประธานกลุ่ม เผย ระยะหลังเจ้าหน้าที่รัฐไม่แนะนำสถานที่จำหน่าย ตลาดจึงมีเพียงในจังหวัดเพชรบุรีเท่านั้นทำให้ยอดขายตกลงเห็นได้ชัด หาทางขยับไปออกงานกรุงเทพฯ จนสำเร็จ

จากความโดดเด่นของเห็ดหย็อง ทำให้กลุ่มสตรีฯ นำออกจำหน่าย สถานที่แรก คุณนิดบอกว่า คือศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถือว่าประสบความสำเร็จชาวญี่ปุ่นชอบ สั่ง 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท แต่ทว่าหลังจบงานลูกค้าโทรศัพท์มาติว่า เห็ดทอดถ้ารับประทานไม่หมดจะอมน้ำมันหากไม่หาวิธีแก้จะไม่สั่งซื้อต่อทั้งหมด

"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อน และตู้อบ ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"คุณนิด ระบุ



[b]ทายาทรับช่วงต่อ

กิจการดี อนาคตไกล [/b]

ธุรกิจกำลังดำเนินได้ด้วยดี อีกทั้งหลายหน่วยงานเชิญคุณสุมลประธานกลุ่มเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าเสมอ แต่วันหนึ่งต้องมาสะดุดเพราะอะไร ลูกสาวเผยด้วยความรู้สึกเสียใจว่า

"ปี 2545คุณพ่อเสียชีวิต จากนั้น 2 ปี แม่เสียชีวิตตามเหมือนว่าครอบครัวขาดเสาหลัก เพราะทุกอย่างที่ผ่านมา แม่เป็นต้นคิดพอขาดแม่ รู้สึกหมดกำลังใจ ไม่อยากทำต่อ แต่ด้วยความสนับสนุนและแรงศรัทธาจากลูกค้า ที่ยังสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่องทำให้รู้สึกว่าเหล่าเมนูเห็ดที่แม่สร้างไว้ ยังเป็นที่ต้องการทั้งหมดเลยเป็นแรงผลักดัน ให้สานกิจการต่อจวบจนปัจจุบัน"

เมื่อขจัดความท้อแท้สิ้นหวัง คุณนิด เผย เข้ารับช่วงต่ออย่างเต็มความสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนผลักดันสินค้าเข้าจำหน่าย ณ ห้างสรรพสินค้าร้านโกลเด้นเพลส ร้านจิตรลดา ดอยคำ ออกบู๊ธตามงานแสดงสินค้ารวมถึงส่งจำหน่ายต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษและออสเตรเลีย สร้างรายได้เข้ากลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทถามว่าประสบความสำเร็จแล้วหรือไม่ เธอตอบ ช่วงแรกดี แต่ระยะหลังประสบปัญหาหลักๆ คือ ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ประกอบกับไม่ขึ้นราคาจึงทำให้กำไรลดลงเท่าตัว

"1-2 ปี ที่ผ่านมา วัตถุดิบหลัก อาทิเห็ดนางฟ้า เครื่องปรุงรส แก๊สหุงต้ม กล่องบรรจุ ยกขบวนกันขึ้นราคายิ่งช่วงฤดูร้อนและหนาว เห็ดที่กลุ่มเพาะไว้ จะไม่ออกดอกทำให้ต้องรับซื้อจากจังหวัดใกล้เคียง ราคากิโลกรัมละ 35 บาทซึ่งแต่ละวันกลุ่มต้องใช้เห็ดทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม เนื่องจากเห็ดนางฟ้าสด5 กิโลกรัม หลังตัดโคนฉีกฝอยแล้ว สามารถทำเห็ดหย็องได้เพียง 9 ขีดอีกทั้งเพื่อให้ได้คุณภาพ ตลอดจนเน้นสุขภาพผู้บริโภคเป็นหลัก น้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำเพียง 2 ครั้งเท่านั้นซึ่งเมื่อรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จแทบไม่เหลือกำไร ขณะนี้เร่งหาหนทางแก้ไขคือพยายามลดต้นทุนแฝง เช่น หาบรรจุภัณฑ์ที่ประหยัดขึ้นและจัดกระบวนการขนส่งสินค้าให้ดี"

ถามราคาจำหน่ายที่คุณนิดบอกตั้งแต่แปรรูปเห็ดนางฟ้ามากว่า 8 ปี ไม่เคยขึ้นราคาและกลุ่มลูกค้าเธอระบุว่า เห็ดหย็องหรือเห็ดนางฟ้าสามรส ขีดละ 25 บาท ส่วนเมนูอื่นอาทิทองพับเห็ดนางฟ้า น้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้า น้ำพริกตาแดงเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าแดดเดียว มีตั้งแต่ราคา 25-45 บาท สำหรับสัดส่วนลูกค้า คนไทย 70เปอร์เซ็นต์ ต่างชาติ 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ช่วงเทศกาลกินเจจะขายดีที่สุด

เท่าที่สังเกตทางกลุ่มเน้นเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้แก่สถานศึกษาและกลุ่มคนที่สนใจ จนทำให้เมนูชนิดนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศก่อให้เกิดคู่แข่งขันตามมาหรือไม่ ตรงนี้ คุณนิด ระบุชัดเจนว่า"ไม่เคยหวงวิชาและเคล็ดลับต่างๆ เนื่องจากอยากให้คนมีอาชีพ เท่าที่สังเกตมีผู้ประกอบการทำขายทุกภาค เช่น ขอนแก่น ระยอง พัทลุง แต่อยากบอกว่ากลุ่มเราเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย ดังนั้น เมนูใหม่ๆเราเป็นผู้คิดริเริ่มตลอด"

ทุกวันนี้แม้คุณนิดจะรับหน้าที่ทั้งหาคำสั่งซื้อ หาสถานที่จำหน่ายประชาสัมพันธ์สินค้า และเพาะเห็ด แต่เธอก็มิได้ตั้งตัวเป็นประธานกลุ่มเป็นเพียงสมาชิกคนหนึ่งที่คอยอาสาตัว ช่วยเหลือสมาชิกท่านอื่นๆรวมถึงตอบแทนสังคมโดยเป็นตัวแทนไปบรรยายความรู้กรรมวิธีการแปรรูปเห็ดนางฟ้าแก่หน่วยงานที่สนใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการมีอาชีพ

ถึงตรงนี้ เส้นทางเศรษฐี ว่าผู้อ่านคงทราบข้อมูลของผู้ประกอบการท่านนี้กันอย่างจุใจแต่หากสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณนิดได้ที่กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา (เห็ดนางฟ้าแปรรูป) เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนามตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ (032) 455-040(081) 843-8673 และ (02) 994-9303

[b]ทั้งนี้ ก่อนจากกันไปคุณนิดฝากเมนูที่ทำจากเห็ดนางฟ้าง่ายๆ นั่นคือ ทอดมันเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าสามรส และเห็ดนางฟ้าแดดเดียว ส่วนผสมและขั้นตอนทำคร่าวๆ ดังนี้ [/b]



[b]ทอดมันเห็ดนางฟ้า [/b]

ส่วนประกอบ เนื้อปลาอินทรีบด เครื่องแกงเผ็ด เห็ดนางฟ้าสดฉีกฝอย น้ำตาลปี๊บ ใบกะเพรา ถั่วฝักยาวหั่นแว่น และน้ำปลา

วิธีทำ นำเนื้อปลาอินทรีสดบดละเอียดผสมกับเครื่องแกงเผ็ดคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลาถั่วฝักยาว เห็ดนางฟ้า ใบกะเพรา คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนเริ่มเหนียว นำลงทอดในน้ำมันถั่วเหลืองเวลาสุกจะมีสีเหลืองกรอบน่ารับประทาน



[b]เห็ดนางฟ้าสามรส[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้าสด น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว น้ำมันถั่วเหลือง

วิธีทำ นำเห็ดนางฟ้าสดสะอาดฉีกเป็นฝอย นำไปผึ่งในที่ร่มจนน้ำสะเด็ดจากนั้นนำเห็ดและส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะที่เตรียมไว้ลงทอดในน้ำมัน เวลาทอดควรใส่ใบเตยเพื่อให้มีกลิ่นหอมใช้ไฟแรงในช่วงเริ่มทอด ค่อยๆ รี่ลงเมื่อแน่ใจว่ากระทะร้อนทอดไปจนกระทั่งเห็ดมีสีเหลืองกรอบและสุก จากนั้นตักลงมาพักไว้ในตะแกรงรอสะเด็ดน้ำมัน ซับด้วยกระดาษซับน้ำมันอีกครั้ง แล้วนำเห็ดเข้าตู้อบตั้งอุณหภูมิที่ 30-40 องศาฟาเรนไฮต์ อบนาน 20-25 นาทีถ้าให้ดีควรใช้เครื่องเหวี่ยงน้ำมันเพื่อให้เห็ดคงความกรอบและรสชาติที่อร่อย



[b]เห็ดนางฟ้าแดดเดียว[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้า น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว พริกไทยป่น กระเทียมบดละเอียด งาขาวคั่วใช้โรยตามความต้องการ

วิธีทำ การทำเห็ดนางฟ้าแดดเดียว จะเหมือนกับการทำเห็ดนางฟ้าสามรสทุกขั้นตอนแตกต่างกันตรงส่วนผสมที่นำมาคลุกเคล้ากับเห็ดแต่เห็ดนางฟ้าแดดเดียวเมื่อทำเสร็จให้โรยด้วยงาขาวคั่วด้านบนเล็กน้อยให้แลดูสวยงาม

แหล่งที่มาจาก เส้นทางเศรษฐี

การเพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า


เห็ดนางรม เป็นเห็ดที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับเห็ดนางฟ้า ดอกเห็ดมีสีขาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ลักษณะดอกคล้ายเห็ดนางฟ้าแต่มีขนาดเล็กกว่า ชอบอากาศเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 25o C อากาศถ่ายเทได้ดี มีลักษณะการออกดอกเป็นชุดๆพร้อมกัน ช่วงที่อากาศหนาวจะไม่ออกดอก เป็นเห็ดที่มีลักษณะนิสัยเหมือนเห็ดนางฟ้าเกือบทุกประการ การนำไปใช้ประโยชน์ก็เช่นเดียวกับ เห็ดนางฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารหรือการแปรรูป ต่างกันเพียงเห็ดนางฟ้าดอกใหญ่หลังดอก สีเทา แต่เห็ดนางรมหลังดอกสีขาวดอกเล็กเป็นกระจุก เห็ดนางรมเป็นหนึ่งในบรรดาเห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติก ซึ่งใช้วัสดุเพาะที่สำคัญ คือ ขี้เลื่อย โดยเฉพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา(1) ซึ่งในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกนี้ มีวิธีการเพาะที่สามารถจะช่วยประหยัด และลดค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตในการเพาะเห็ดได้ ด้วยการใช้ก้อนวัสดุเพาะเห็ดเดิมที่ยังไม่หมดคุณภาพ(ไม่มีสีดำ) มาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่(ขี้เลื่อยใหม่) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้เห็ดสามารถออกดอกได้ดีขึ้นการเพาะเห็ดด้วยวิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆที่นิยมเพาะโดยใช้ถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เป็นต้น

คุณชอ้อน แย้มอุ่ม เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาบ้านโป่ง อยู่บ้านเลขที่ 11 ม.3 ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผู้มีอาชีพเพาะเห็ดนางรมฮังการี จำนวน 5 โรง เป็นโรงเรือนขนาดเล็ก (วัสดุ เพาะเห็ด 8,000 ก้อน) จำนวน 3 โรง โรงเรือนขนาดกลาง (วัสดุเพาะเห็ด 10,000 ก้อน) จำนวน 1 โรง และโรงเรือนขนาดใหญ่(วัสดุเพาะเห็ด 12,000 ก้อน)จำนวน 1 โรง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เดิมเพาะเห็ดนางรมภูฏานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2539 และมาเปลี่ยนเป็นเห็ดนางรมฮังการี เมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณชอ้อนมีเทคนิควิธีในการลดค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดแบบถุงในโรงเรือน ด้วยการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่ ซึ่งนอก จากจะช่วยประหยัดค่าวัสดุเพาะเห็ดแล้ว ยังสามารถช่วยให้เห็ดออกดอกได้ดีขึ้น เชื้อเห็ดไม่มีการพักตัวหลังเก็บในครั้งแรก สามารถเก็บดอกเห็ดได้ตลอด โดยปกติเห็ดจะมีการพักตัวประมาณ 1 เดือนหลังออกดอกในชุดแรก สำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อันได้แก่ ขั้นตอน วิธีการ ช่วงระยะเวลาในการผลิต เทคนิควิธีการผลิตเฉพาะตัวที่สำคัญและน่าสนใจ การขายผลผลิต(การตลาด) รายได้–ค่าใช้จ่ายในการผลิต และปัจจัยที่มีผลกระทบในการเพาะเห็ดโดยใช้วัสดุเพาะเห็ดเก่าผสม

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก
ปัจจุบันการหาไม้มาเพาะเห็ดหูหนู อาจยุ่งยากมาก ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องเพาะบนไม้ก็ได้
โดยจะเปิดถุงให้ดอกเห็ดออกบนถุงเชื้อเสียเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องการที่จะเห็ดให้ออกดอกบนถุงไม้
เหมือนเห็ดอื่น ๆ
ที่จะต้องเปิดให้ออกดอกตรงปากถุง แต่ในกรณีเห็ดหูหนูถ้าจะเปิดเอาดอกแล้วหลังจากเส้นใยเดินเต็มถุง
แล้วปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดมารวมตัวกันเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม
สีออกเหลืองจึงเอาถุงที่ซื้อมา
แล้วถอดคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดโกนคม ๆ กรีดข้างถุงให้เป็นแนว
ยาวประมาณ 6-8 แถว การกรีดถุงควรกรีดในลักษณะเฉียงลง แบบกรีดต้นยางพาราจะดีกว่ากรีดตามแนวดิ่ง
เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีกว่า
ควรกรีดให้ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร โดยรอบประมาณ 15-20 แผล หรือกรีดรูปกากกะบาทเล็ด ๆ
รอบถุง จากนั้นจึงนำถุงเห็ดไปวางบนชั้น หรือแขวนในโรงเรือนเห็ด ซึ่งมีขนาด 4 x 6 x 2.5 เมตร
หลังคารูปจั่ว โรงเรือนนี้สามารถเก็บความชื้นได้ดี
การรดน้ำควรใช้เครื่องฉีดชนิดพ่นฝอยฉีด การรดน้ำควรให้อย่างสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อวันปฎิบัติ
เช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเก็บผลผลิต
การเก็บผลผลิตจะพบว่าดอกเห็ดหูหนูเมื่อเกิดระยะแรกขอบจะหนาและโค้งคล้ายถ้วย
เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ขอบของดอกเห็ดจะบางโค้งเป็นลอน ถ้าดึงจะหลุดได้ง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่เก็บได้
การเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่พร้อมกันแล้ว
ใช้มือรวบแล้วดึงเบา ๆ นำมาตัดก้านพร้อมทั้งเศษวัสดุที่ติดมาด้วยออกทิ้ง บางแห่งการเก็บผลผลิตจะเก็บ
เฉพาะดอกแก่ก่อนส่วนที่เหลือก็รอเก็บในวันถัดไป วิธีนี้ถึงแม้เสียเวลาในการเก็บบ้าง แต่ก็สามารถเก็บ
ได้ทุกวัน ก้อนเชื้อที่ทำการเก็บผลผลิตไปแล้วนั้นหากพักการรดน้ำประมาณ 5-8 วัน แล้วทำการรดน้ำ
ใหม่ก็จะทำให้ดอกเห็ดออกเร็วยิ่งขึ้น ผลผลิตของเห็ดหูหนูที่ได้ ถ้าถุงขนาด 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิต
โดยเฉลี่ยประมาณ 400-700 กรัม ใช้เวลาเก็บประมาณ 2-2.5 เดือน

2. การเพาะเห็ดหูหนูในท่อนไม้
ไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ แต่ไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลามากไม้ที่ได้ทดลองแล้วให้ผลคุ้ม
ค่าต่อการลงทุน ได้แก่ ไม้แค มะม่วง นนทรี พลวง ไทร ไคร้น้ำ ขนุน มะยมป่า มะกอง เหียง โพธิ์ป่า
ทองกวาว จามจุรีและยางพารา นอกจากนี้ยังมีไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้พอสมควร แต่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือ
ไม้ก้ามปูและนุ่น สำหรับไม้เนื้อแข็งที่ใช้ได้ดีได้แก่ไม้กระถิ่นณรงค์ สะแก ฝรั่ง ลินทนิล ไม้ที่มช้เพราะเห็ด
ควรจะหาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูกไม้บางชนิดเป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้มะม่วง ก็ไม่ควรตัดเอามา
เพราะเห็ด นอกจากเป็นไม้ที่ไม่ใช้แล้ว จึงจะได้ประโยชน์มาก

หลักในการคัดเลือกและตัดไม้สำหรับเพาะเห็ดหูหนู
1.ไม้ที่จะนำมาใช้เพาะควรเป็นไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ สด ๆ ใช้เพาะทันที สำหรับไม้เนื้ออ่อนทั่วไปไม่ควร
ตัดทิ้งไว้เกิน 2 สัปดาห์และสำหรับไม้ที่มียางไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์
2.ควรตัดไม้มาทำการเพาะเห็ดในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งนี้เพราะในฤดูนี้ไม้จะสะสมอาหารมาก
และเมื่อใส่เชื้อเห็ดลงไปแล้ว จะมีเชื้อเห็ดชนิดอื่นปลอมปนน้อยที่สุด
3.อายุของไม้นั้นให้ถือหลักที่ว่า ถ้าไม้อายุน้อยจะได้ผลผลิตเร็วและหมดเร็ว ถ้าหากเป็นไม้แก่
เชื้อเห็ดจะเจริญเข้าไปช้า ออกดอกช้า แต่เก็บผลผลิตได้นาน อายุของไม้ที่พอเหมาะสำหรับไม้เนื้ออ่อน
ควรอยู่ระหว่าง 3-5 ปี
4.ไม้ที่มียางควรตัดทิ้งไว้ให้ยางเสื่อมเสียก่อน เช่น ไม้ขนุน ยางพารา ไทร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
ถ้าจะให้ยางหมดเร็วให้ตัดปลายไม้เล็กน้อย แล้วใช้ส่วนที่ถูกตัดออกมาถูกับท่อนไม้ไปมาจะทำให้ยางออกเร็ว
ยิ่งขึ้น
5.ถ้าไม้นั้นเป็นไม้ที่ตายยาก เช่น ไม้ทองหลาง นุ่น มะกอก เมื่อตัดมาแล้วควรปอกเปลือกแล้วผึ่งไว้
ให้ผิวนอกแห้งเสียก่อนประมาณ 1-2 วัน
6.ถ้าไม้เปียกฝนต้องผึ่งให้แห้งเสียก่อน อย่างเจาะรูใส่เชื้อขณะที่ยังเปียกอยู่
7.การตัดไม้พยายามอย่าให้เปลือกช้ำเป็นอันขาด ถ้าเปลือกไม้ช้ำควรเอาปูนขาวชุบน้ำทา
หรือใช้ปูนสำหรับเคี้ยวหมากทาก็ได้ ถ้ามีกิ่งก้านเล็ก ๆ ติดมาด้วยให้ตัดทิ้ง และใช้ปูนขาวทารอยแผลเสียก่อน
8.ขนาดของไม้ใช้ได้ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป จนกระทั่งถึงขนาดโตที่สุด
แต่ไม้ที่มีขนาดเหมาะสมที่สุด คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10-20 เซนติเมตร
9.ท่อนไม้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร

การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย


การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง


1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขามรองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65%

2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ

4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผล




1. ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออก ส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว

2. บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน อัดแน่นพอประมาณ ถุงละ 1/2 กก.- 1 กก. ใส่คอขวดปิดจุกสำลี และปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ

3. แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (หรือใช้ถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอ เป็นเวลา2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลาด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถังนึ่ง 85-100 องศาเซลเซียสตลอดเวลา) แล้วทิ้งให้เย็น

4. แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสำลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทำในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนำไปบ่มเส้นใย
ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 3-4 เดือน ขึ้นกับน้ำหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอกประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้อ
การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทำห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทำจากหญ้าคา, จากฟาง, ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้น้ำภายนอกโรงเรือน หรือบริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราวเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส

ระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติ คือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเห็ด ถ้ามีความจำเป็นต้องให้น้ำโรงเรือนต้องระวังมิให้น้ำถูกสำลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทำให้เกิดเชื้อโรคไป ทำลายเชื้อเห็ดได้

ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างดอกเห็ดและการเจริญของดอกเห็ด อยู่ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลำดับ การผ่านลมเย็นในขณะดอกเห็ดเจริญ จะทำให้หมวกเห็ดแตก คล้ายกับดอกเห็ดหอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ

การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทำให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลง ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวดเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่น ๆ



ช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มือและยังช่วยให้หมวดเห็ดมีสีเข้มไม่จางซีด
หลังจากบ่มเส้นใยสมบูรณ์แล้ว ให้แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น 2 ชั่วโมง หรือค้างคืนก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก
โดยเปิดปากถุงให้ออกดอกทางด้านบนหรือเปลือยก้อนเชื้อโดยแกะถุงพลาสติกออกทั้งหมดให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ถ้าต้องการเห็ดดอกใหญ่ก็เปิดให้มีการเกิดดอกเป็นบางส่วน การเปลือยก้อนเชื้อจะได้ดอกเห็ดจำนวนมากแต่ดอกจะเล็ก และอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย ผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัมต่อก้อนเชื้อ 1/2 - 1 กก. ขึ้นกับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเหในการเก็บผลผลิตนั้น ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ หรือขอบหมวกยังงุ้มอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ และอย่าได้ส่วนของดอกเห็ดเหลือติดอยู่ที่ก้อนเชื้อ จะทำให้เน่าเสียและเกิดโรค ในขณะที่เก็บผลผลิตถ้ามีการให้น้ำที่ดอกเห็ดมากเกินไปจะทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียง่าย ถ้าไม่มีการให้น้ำดอกเห็ดเมื่อเก็บดอกเห็ดแล้วใส่ถุงพลาสติกไว้จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์
โดยตากแดด จนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงตากแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ดอกเห็ดไหม้เกรียมและควรคว่ำดอกเห็ดให้ครีบอยู่ด้านใต้ เพื่อป้องกันครีบสีคล้ำ การตากแดดเป็นวิธีลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ดอกเห็ดยุบตัวมากเมื่อดอกเห็ดแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้น มิฉะนั้นอาจจะมีเชื้อราเกิดขึ้นได้
ใช้ลมร้อนค่อย ๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ด ซึ่งจะได้เห็ดที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเห็ดที่ตากแดด การอบใช้อุณหภูมิ เริ่มแรกประมาณ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละ 1-2 องศา ทุก 1 ชั่วโมง จนถึง 50 องศาแล้วเพิ่มให้เป็น 60 องศาและรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่น และทำให้ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเงาสวยงาม

การเพาะเห็ดภูฐาน

นายขจร คมกล้า และนางพวงรัตน์ คมกล้า บ้านเลขที่ 53/3 หมู่ที่ 4 ตำบลไทรโสภา อำเภอพระแสง ซื้อเชื้อเห็ดถุงมาเลี้ยงเมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2550 โดยการแนะนำจากญาติ จึงตัดสินใจสั่งซื้อเชื้อเห็ดโดยที่ไม่เคยดูตัวอย่างจากที่ใดมาเลย แต่พยายามทำตามคำแนะนำของญาติ การสร้างโรงเรือนก็ทำตามคำบอกเล่า สั่งซื้อเชื้อเห็ดครั้งแรก 5,000 ก้อน เป็นเงิน 35,000 บาท ( เห็ดราคาก้อนละ 7 บาท )
การจัดชั้นวางเห็ด
- ชั้นที่ 1 ห่างจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร และวางเห็ดซ้อนกันขึ้นไปอีก 6-7 ชั้น หรือตามความ
สะดวกในการปฏิบัติงาน
- ชั้นล่างพื้นใช้ทรายโรยให้หนารดน้ำให้ชุ่ม เพราะทรายจะเป็นตัวเก็บความชื้นไว้ได้ดีในช่วงฤดูแล้ง
ทำให้โรงเรือนมีความชื้นสม่ำเสมอ
- หลังจากจัดชั้นวางเชื้อเห็ดเรียบร้อย หมั่นรดน้ำทุกวัน( วันละ 3 ครั้ง เช้า – เที่ยง – เย็น )

โดยไม่ให้ถูกปากถุง
- อีก 7 วันต่อมาจึงเปิดปากถุงเห็ด
- หมั่นรดน้ำทุกวัน( วันละ 3 ครั้ง เช้า – เที่ยง – เย็น )

- ประมาณ 10-15 วัน เห็ดจะทะยอยออกดอกออกมาเรื่อย ๆ
- เชื้อเห็ดดีและการปฏิบัติดูแลรักษาดีจะทำให้สามารถเก็บเห็ดได้นานถึง 7 เดือน
- เห็ดจะออกดอกมากสูงสุดประมาณวันละ 30 กก
- ในช่วง 4 เดือนแรก เห็ดจะออกดอกดีมาก หลังจากนั้นจะทะยอยลดลงเรื่อย ๆ
- การเก็บเห็ด เก็บช่วงเช้า เวลา 06.00 น. บ่าย เวลา 14.00 น.และเวลากลางคืน 20.30 น
- ใช้ฮอร์โมนและน้ำสกัดชีวภาพในการช่วยให้ดอกเห็ดมีขนาดโตและเป็นการยืดอายุการเก็บเห็ดให้
นานขึ้น
- จุดคุ้มทุน เดือนครึ่ง ที่เหลือคือกำไร
- ตลาดขายส่งอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานีและอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่
- การวางแผนการผลิต รุ่นแรกลงเชื้อเห็ด 3,000 ก้อน รุ่นที่ 2 ลงเชื้อเห็ด 2,000 ก้อน
ใช้เวลาห่างกันแต่ละรุ่น 1 เดือนครึ่ง
การทำฮอร์โมนเร่งดอก
- ใช้นมสด (ตราเหยี่ยว) อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ ครึ่งลิตร ( 500 ซี.ซี)
ผสมนมสดและน้ำตาลทรายกวนให้เข้ากัน เติมน้ำครึ่งลิตร ใส่กระบอกน้ำฉีดพ่นที่ปากถุงเห็ด ฉีด 20 วันครั้ง หรือดูว่าผลผลิตเริ่มลดลง เช่น ดอกเล็ก ดอกผอม ใช้สลับร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมด้วยจะทำให้ตีนเห็ดโต ดอกโตและอวบขึ้น ยืดอายุการเก็บเห็ดเพิ่มการทำน้ำหมักชีวภาพ

- น้ำ 100 ลิตร
- อีเอ็ม 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 2 ลิตรครึ่ง
นำทั้ง 3 ส่วนผลมเข้าด้วยกัน หมักนาน 15 วัน กวนทุกวันปิดปากถังให้มิด หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปทุกวัน วันละ 5 ลิตรจนครบ 200 ลิตร นำเศษเห็ดที่เหลือ เช่น ตีนเห็ด เศษเห็ด ไปหมักในถังน้ำหมักชีวภาพ
วิธีใช้
ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ( หากเข้มข้นเกินให้ปรับลดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามความเหมาะสม ) ฉีด 2-3 วัน/ครั้ง ใส่กระบอกฉีดพ่นฝอยบริเวณปากถุง ไม่ควรฉีดใกล้ปากถุงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นตามมาได้

ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า

การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1) การผลิตเชื้อวุ้น 2)การทำหัวเชื้อเห็ด 3)การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ 4)การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 - 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้ ซึ่งระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้

1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด

2. ผลิตดอกเห็ดขาย 90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำ ได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ไม่ขาดทุนมาก

3. ผลิตถุงเชื้อเห็ด ถ้าตลาดรับซื้อเห็ดและถุงเชื้อมากพอ จึงตั้งหน่วยผลิตถุงเชื้อได้ แต่ถ้าคำนวณว่าซื้อถุงถูกกว่าผลิตเองก็ไม่ควรทำ ควรไปดูฟาร์มทำถุงเชื้อหลาย ๆ ฟาร์ม แล้วมาคำนวณว่าเครื่องมือและวิธีการแบบใดดีที่สุด เตรียมการเอาคนคุมงานไปฝึกงานในฟาร์ม หรือติดต่อจ้างคนชำนาญในฟาร์มเก่ามาทำฟาร์มใหม่ ขั้นตอนนี้ก็ควรซื้อเชื้อข้าวฟ่าง ยังไม่ควรทำเอง การลงทุนขนาดเล็กจะใช้หม้อต้มไอน้ำต่างหาก (สตีมเม่อร์) แล้วต่อท่อมาอบถุงขี้เลื่อยในอีกหม้อต่างหาก ถ้างานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นสมควร แล้วค่อยผลิตเชื้อข้างฟ่างและซื้อวุ้นต่อไป

4. ผลิตเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่าง เริ่มทำเมื่องานฟาร์มมีขนาดใหญ่มาก สำหรับระยะ 1 - 2 ปี ที่ผ่านมานั้นถ้ายังไม่ทำเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่างมาก่อน ก็ไม่ควรทำขึ้นใหม่ มีผู้ทำขายมากอยู่แล้ว ซื้อเขาใช้ดีกว่า นอกจากจะห่างไกลซื้อยากจริงๆ แล้วต้องใช้มากจึงค่อยทำ

การเพาะเห็ดยานากิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น


เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและการเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏานเพียงแต่ความชื้นที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดดอกจะมีสูงกว่า และจะต้องมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหารของก้อนเห็ด ก่อนจะนำไปเปิดดอกเหมือนเห็ดหอม และในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในลักษณะของการจำหน่ายดอกเห็ดสดหรือเห็ดโคนญี่ปุ่นแปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างสูงทีเดียวในบรรดาเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกเรียกได้ว่า ไม่ถูกไปกว่าราคาของเห็ดหอมเลยทีเดียว ซึ่งรสชาดของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวคือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอมแต่บริเวณขาของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อยเห็ดโคนญี่ปุ่นได้ผ่าน การพัฒนาสายพันธุ์มายาวนาน จนในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ที่ส่งเสริม หรือ แนะนำให้เพาะจึงง่ายต่อการดูแลรักษาแต่ให้ผลผลิตสูงเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลาเคี้ยวจะได้รสชาติดีทำอาหาร ได้ทั้งผัดและต้มแกง ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆปัจจุบันเริ่ม มีการเพาะเห็ดนี้กันมากขึ้น แต่ผลผลิตยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
1.สิ่งสำคัญที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการทั่วไป
-ธาตุอาหารเกลือแร่และวิตามินหลัก
-ธาตุคาร์บอน (Carbon)
-ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen ,N.)
-เกลือแร่ (Minerals)
-ฟอสฟอรัส
-วิตามินหรือฮอร์โมน Vitamins
2.อุณหภูมิ Temperature อุณหภูมิก็นับว่ามีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดอยู่ไม่น้อย อุณหภูมิ 24 - 30 C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ของเส้นใยและดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น
3.ความชื้น Humidity องค์ประกอบเห็ดทุกส่วน ไม่ว่าเส้นใยเห็ดหรือดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง 90% ยกเว้นสปอร์น้ำมีความจำ เป็นต่อกระบวนการต่างๆ และการรักษาสภาพอุณหภูมิภายในเซลล์ ดังนั้นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเจริญ เติบโตของเส้นใยเห็ด การเกิดดอกการเจริญเติบโตของดอกเห็ดล้วน แต่ต้องการความชื้นสูง โดยปกติแล้วเว้นเสียแต่ระยะที่ทำให้เกิดดอกต้องเปิด ปากถุงให้สัมผัสกับบรรยากาศ โดยจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 80-90 %
4.อากาศ (Air) คำว่าอากาศในที่นี้ หมายถึง ก๊าซออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ จากภายในวัสดุเพาะหรือโรงเรือนเพาะเห็ด ทุกระยะของการเจริญเติบโต ของเห็ดโคนญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ต้องการอากาศในการหายใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะของการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
5.แสง (Light) ช่วงที่เส้นใยเห็ดเจริญเติบโต ไม่ต้องการแสง ช่วงที่เส้นใยสะสมอาหารและกำลังจะรวมตัวเป็นดอกเห็ด พบว่าแสงมีความจำเป็นในการ กระตุ้นให้เกิดเส้นใยของเห็ด รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดแสงรำไรที่ส่องเข้าไปในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึงจะทำให้ดอกเห็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ ดียิ่งขึ้นหากแสงไม่เพียงพอ ดอกเห็ดจะโน้มไปหาแสงที่มีความเข้มข้นสูง ในทางตรงข้าม หากแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะสีคล้ำและแห้งง่าย
6.ความเป็นกรด-ด่าง (PH) ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการอยู่ในระดับค่าเป็นกลาง 6.5-7.5
7.สารพิษ ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารประกอบที่มีพิษกับการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุ อุปกรณ์ ที่สำคัญในการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุเพาะ วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์ กากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย คือ ฟางข้าว ต้นข้าวโพดต้นข้าวฟ่าง วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นไม้ รสชาติดีกว่า แต่ต้องทำการหมักจนกว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้
สูตรอาหาร
เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้น การที่จะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริม หรือเติมธาตุอาหารที่เห็ดต้องการเข้าไปให้ครบถ้วน
สูตรทั่วๆไป
ขี้เลื่อยแห้ง 100 กก.
รำละเอียด 10 กก.
ใบกระถิ่นป่น 3 กก.
ข้าวโพดป่นหรือแป้ง 1 กก.
ส่าเหล้า 1 กก.
หินฟอสเฟต 1 กก.
ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว 1 กก.
ดีเกลือ 0.1 กก.
การบรรจุถุงพลาสติก
ถุงพลาสติกที่นำมาบรรจุวัสดุเพาะเห็ดนิยมใช้ถุงกันร้อน พับก้นเรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย นิยมใช้ถุง ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.10 มม. ถ้าเป็นฟางใช้ 9x13 นิ้วหนา. 10มม. การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงนั้นควรบรรจุประมาณ 3 ใน 4ของความสูง กด ทุบ เพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรหรือพยายามให้อากาศเหลือน้อยที่สุดในถุง แล้วจึงใส่คอขวด อุดด้วยจุกประหยัดสำลี
การบ่มเชื้อ
หลังจากการใส่หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นลงไปแล้ว นำเอาไปบ่มในห้อง สำหรับการบ่มเชื้อ หรือ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกเลยในระยะ ที่ทำการบ่มเชื้อนั้น ไม่มีการรดน้ำ ไม่ต้องการแสง ดังนั้นภายในโรงบ่มมีเพียงแสงสลัวๆก็พอ เพราะถ้าหากแสงมากเกินไปเส้นใยเห็ดจะเจริญช้า และต้องการอุณหภูมิห้องธรรมดา ประมาณ 24-28 องศา - ในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น จะใช้เวลาประมาณ 50 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง แล้วจึงจะนำไปเปิดปากถุง
การเก็บเห็ด และนำไปขายในราคากิโลละ 150 บาท

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


การเพาะเห็ดฟาง สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเพาะแบบกองเตี้ย การเพาะในถุง การเพาะแบบโรงเรือนอบไอน้ำ แล้วแต่สภาพความพร้อมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เพาะ รวมทั้งวัสดุที่ใช้เพาะ ก็ใช้ได้หลากหลายอย่าง ตามที่มีในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา ต้นกล้วยแห้ง ไส้นุ่น เปลือกถั่ว หรือกากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่านั่นเอง ที่สำคัญการเพาะเห็ด นอกจากจะเป็นการผลิตอาหารในครอบครัวแล้ว ยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้เสริม ในช่วงว่างจากฤดูการทำนา และวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็สามารถนำกลับลงในแปลงนาเพื่อบำรุงดิน หรือทำเป็นปุ๋ยหมักใส่พืชผักได้อีกด้วย

การเพาะเห็ดในตะกร้า เป็นการเพาะเห็ดอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ทุกครัวเรือนเพื่อบริโภค ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้จากไร่นาได้เกือบทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกหมดแล้วมาใช้ได้ ทั้งเห็ดฟาง เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม

สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็หาได้ไม่ยาก ประกอบด้วย ตะกร้าพลาสติค ขนาด 12??14 นิ้ว มีตาห่างประมาณ 2??2 เชื้อเห็ดฟางที่พร้อมเพาะ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ปุ๋ยหมัก หรือผักตบชวาหั่นสด ท่อนไม้ สำหรับรองก้นตะกร้า โครงไม้ไผ่แบบสุ่ม และผ้าพลาสติคคลุมสุ่ม

ส่วนวิธีเพาะ ให้เทก้อนเชื้อเห็ดเก่าออกจากถุง ขยี้ให้แตก อัดลงในตะกร้า หนาชั้นละ 3 นิ้ว ใส่อาหารเสริมจำพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือผักตบชวาสับ ชั้นละ 1-2 กำมือ โรยเชื้อเห็ดฟาง รดน้ำพอชุ่มแล้วทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ต่อไปเหมือนกัน โดยชั้นที่ 3 ให้เหลือช่องว่างของตะกร้าจากปากไว้ 3 นิ้ว การเลือกเชื้อเห็ดที่ดี ควรเลือกที่มีเส้นใยเต็มถุง มีสีขาวนวล ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา และมีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง ส่วนพื้นที่เพาะเห็ดต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลง น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี

วิธีการดูแลไม่ยาก หลังจากบรรจุวัสดุเพาะเห็ดเรียบร้อย ให้นำตะกร้าเห็ดที่ได้ไปวางไว้ตามร่มไม้ชายคา ที่มีแสงแดดเล็กน้อยโดยเอาท่อนไม้วางรองด้านล่างกันปลวก โดยการเพาะ 1 สุ่ม ควรใช้ตะกร้า 4 ใบ วางด้านล่าง 3 ใบ ซ้อนด้านบน 1 ใบ ใช้สุ่มครอบ คลุมด้วยแผ่นพลาสติค เมื่อครบ 4 วัน ให้เปิดพลาสติคคลุมตอนเช้า หรือเย็นเพื่อให้เชื้อเห็ดรับอากาศ ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วปิดไว้ตามเดิม ทิ้งไว้กระทั่ง วันที่ 9-12 ดอกเห็ดฟางก็จะเกิด สามารถเก็บไปประกอบอาหารได้ ถ้าทำจำนวนมากหลายสุ่มจะเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอย่างดีอีกด้วย โดยดอกเห็ดฟางในตะกร้าสามารถเก็บได้เรื่อยๆ จนหมดรุ่น ซึ่งสามารถเปิดพลาสติครดน้ำให้เปียกเอารุ่นที่ 2 ได้อีก พอดอกเห็ดหมดสามารถนำวัสดุที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยหมัก ใส่แปลงผัก หรือใส่แปลงนาได้อย่างดี หลังจากนั้น ล้างตะกร้าให้สะอาดตากแดด ประมาณ 1-2 แดด นำมาเพาะเห็ดรุ่นต่อไปได้

สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 35-37 องศาเซลเซียส เนื่องจากเห็ดฟางชอบอากาศร้อน เจริญเติบโตได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้เห็ดฟางมีราคาสูง

เห็ดฟาง ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง หากถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย จึงควรจะคลุมกองด้วยผ้าพลาสติค เพื่อพรางแสงแดด โดยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจะจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

การเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้น ถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็กๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นทั้งกระจุก โดยใช้มือจับทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

ศัตรูของเห็ดฟาง คือ แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีการแก้ไข ให้ใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอก ควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ด แต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการออกดอก อีกทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ด ซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

นอกจากแมลงที่เป็นศัตรูของเห็ดฟางแล้ว ศัตรูอีกอย่างคือ เห็ดคู่แข่ง เป็นเห็ดที่เราไม่ได้เพาะ แต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่างๆ วิธีแก้คือ การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

??การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีต้นทุนต่ำ เหมาะกับทุกบ้านเรือน เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตทุกฤดูกาล ที่สำคัญเป็นพืชปลอดสารพิษ นอกจากนำผลผลิตมารับประทานในบ้านเรือนแล้ว ผลผลิตที่เหลือยังสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมอย่างดี?? เกษตรจังหวัดภูเก็ต กล่าว

อย่างไรก็ตาม การที่เกษตรจังหวัดภูเก็ต ได้ให้ความสำคัญต่อการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ส่วนหนึ่งเกิดจากก่อนหน้านี้การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดใกล้แหล่งเพาะปลูกที่ ต้องอาศัยปุ๋ยเคมี กระทั่งมีสารเคมีตกค้างในพื้นดินจำนวนมาก จนทำให้การเพาะเห็ดในโรงเรือนได้รับสารเคมีไปด้วย การเพาะเห็ดในตะกร้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงสารเคมีจากผลผลิต ทางการเกษตร

เห็ดฟาง หรือเห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง มีชื่อสามัญว่า Straw Mushroom มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆ คล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด ออกดอกทุกฤดูกาล

เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น นอกจากนี้ เห็ดฟางยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เพราะเห็ดฟางมีสาร Vovatoxin ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้ นอกจากจะอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว หากผู้อ่านสนใจก็สามารถทดลองเพาะเห็ดฟางในตะกร้าได้ภายในบริเวณบ้าน แต่หากอดทนรอเพาะเห็ดฟางรับประทานเองไม่ไหว คงต้องอุดหนุนเกษตรกรผู้เพาะเห็ดดีกว่า

การเพาะเห็ดกองเตี้ย

เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้ มีราคาดี ตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการ ประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน
1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจาก ฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง

2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแม่พิมพ์ โดยมีความยาว 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร
3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกหิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวา ก็ให้ผลผลิตดี เท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลา ในการแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้
4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกของฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน
5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว
6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้ง จะใช้ฟางใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องการแสงแดด

เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี้ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น

การเพาะชั้นที่ 1

1. นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่น้ำใส่ลงในไม้แบบขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร

2. นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบาง ๆ ทั้งสี่ด้าน

3. ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้ำย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน

การเพาะชั้น 2-4

ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น

สำหรับชั้นที่ 4

ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุม หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่น พอสมควร

4. ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อม ๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่าง ๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร

5. ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินคลุมด้วยฟางบาง ๆ

6. คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลาย ๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติก ยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน

7. นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง
1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่ เกิดดุ่มดอก)
3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็น ใบมะพร้าวแผง หญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้
4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญของดอกเห็ดในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็ก ๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบา ๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้า พลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7-9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดไว้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)
7. การเก็บผลผลิต การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพาะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรง โคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเห็นสาเหตุการเน่าเสียของดอกเห็ดได้

ผู้ประกอบการเพาะเห็ดจะประสบปัญหามากมายหลายชนิด จึงจำเป็นต้องศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นการศึกษาด้วยประสบการณ์ของตนเองจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง แต่พอจำแนกปัญหาได้ดังนี้

1. พื้นที่เพาะเห็ด พื้นที่ที่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดไม่ควรเพาะเห็ดในพื้นที่นี้
2. วัสดุที่ใช้ในการเพาะเก่าเกินไป ถ้าเป็นฟางข้าวที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในกองฟางเจริญและใช้อาหารในฟาง ทำให้ไม่พอต่อการเจริญ ของเห็ด ควรเลือกฟางค่อนข้างใหม่ แห้ง ไม่สดเกินไป และไม่มียาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าเชื้อราตกค้างอยู่
3. เชื้อเห็ด จะมีปัญหามากต่อผู้ประกอบการเพาะเห็ด โดยสาเหตุจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ สายพันธุ์ไม่ดี มีการต่อเชื้อกันหลายครั้งจนเชื้ออ่อนแอ ควรเลือกซื้อ เชื้อเห็ดจากแหล่งที่ไว้ใจได้
4. ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดได้อย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาวเห็ดฟางจะไม่เจริญถ้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ถ้าใน ฤดูฝน จะทำให้แปลง เพาะเปียกชื้น ดอกเห็ดจะเน่าควรคลุมแปรง เพาะให้ มิดชิด ในฤดูร้อนอุณหภูมิในแปลงเพาะ จะสูงมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิต่ำ แตกต่างกันมากในเวลากลางวัน และกลางคืน (ไม่ควรต่างกัน 10 องศาเซลเซียส) ควรจะให้มีการระบายอากาศ และควบคุมความชื้นให้ เหมาะสม
5. การเพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิมหลายครั้งจะมีการสะสม ศัตรูเห็ด และโรคเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง หรือไม่ได้เลย ถ้าจำเป็นต้องเพาะซ้ำที่เดิม ควรใช้ไฟเผาพื้นที่ และโรยปูนขาวเพื่อ ปรับสภาพ พื้นที่ใหม่
6. น้ำที่ใช้ในการแช่ฟาง ต้องมีสภาพเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5-7 น้ำต้องไม่เน่าเหม็น ถ้าเป็นน้ำประปา ต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่
7. ศัตรูเห็ด เช่น มด ปลวก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่อาศัยของมด ปลวก ทำการเพาะเห็ด ควรแก้ไขโดยใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำรดดินแล้วปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน ถึงทำการเพาะเห็ด
8. ศัตรูจาก หนู กิ้งกือ จิ้งเหลน ที่ชอบเข้ามาอาศัยในแปลงเห็ด แล้วกัดกินดอกเห็ดหรือคุ้ยเขี่ยทำให้เกิดความเสียหาย ควรวางกับดักและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย รอบบริเวณ เพาะเห็ด



ชนิดของเห็ดที่ใช้เพาะในถุงพลาสติก จะเฟินเห็ดที่พบได้ตามธรรมชาติ ที่มีการเจริญบนท่อนไม้ผุ ๆ เพราะเห็ดชนิดนี้สามารถใช้สารประกอบที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนในเนื้อไม้ ได้ เช่น พวกโพลี แซคคาไรซ์ พวกเซลลูโลส เซลล์โลไมโอสและลิกนิน ในขบวนการย่อยอาหารของเห็ดเป็นแบบปล่อยน้ำย่อย หรือเอนไซม์ออกมาภายนอกเส้นใย เพื่อย่อยสลาย สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ ๆ ให้เล็กลง ซึมเข้าไปในเซลล์ได้ จากนั้นขบวนการย่อยของเห็ดจะดำเนินไปจนได้ดอกเห็ด

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกจึงเป็นการเรียนแบบจากธรรมชาติ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชนิดของเห็ดแต่ละสายพันธุ์ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอน เห็ดแครง เห็ดหอม เห็ดลม ฯลฯ เห็ดเหล่านี้สามารถใช้ไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นวัสดุเพาะได้อย่างดี

การทำหัวเชื้อเห็ด เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นหนึ่ง ต้องมีการฝึกปฏิบัติให้ถูกต้องตามเทคนิคความชำนาญ จึงจะได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ ดอกเห็ดที่จะมาใช้ทำพันธุ์ ต้องเป็นดอกเห็ดสดใหม่ไม่เปียกน้ำ เป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่แก่และอ่อนเกินไป
การเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ด ที่นิยมใช้กันมากคือการเพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์เห็ดที่ทำง่าย สะดวกและจะได้สายพันธุ์เห็ดเหมือนสายพันธุ์เดิม แต่ต้องใช้เทคนิค การปลอดเชื้ออื่นปลอมปนในการขยายพันธุ์เห็ดจากเนื้อเยื่อ




ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการเพาะเห็ด ผลผลิตดอกเห็ด จะให้ผลผลิตดีหรือไม่ดี สายพันธุ์เชื้อเห็ดมีส่วน สำคัญมาก ถ้าได้สายพันธุ์ ที่อ่อนแอ ซึ่งเกิดจาก การคัดเลือกดอกที่มาทำพันธุ์ หรือการต่อเชื้อเห็ด หลายครั้งจนเชื้อเห็ดอ่อนแอลง จนทำให้ผลผลิตดอกเห็ดต่ำลง เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรมีสายพันธ ุ์ของตัวเองและควรคัดเลือกจาก ดอกเห็ดใหม่ จะได้สายพันธุ์ที่แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง สม่ำเสมอ
1. อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ด
อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อดอกเห็ด จะใช้อาหารวุ้น PDA เห็ดทุกชนิดจะเจริญได้ดีในอาหารนี้ มีส่วนผสมและวิธีการดังนี้

อาหารวุ้น P.D.A. มีชื่อย่อมาจาก Patato Dextrose Agar ซึ่งมีความสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ด เชื้อเห็ดทุกชนิดสามารถเจริญได้ดีในอาหารนี้

การแยกเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อ การเก็บรักษาเชื้อเห็ดไว้ หรือการเพิ่มปริมาณเชื้อเห็ด ต้องใช้อาหาร พี.ดี.เอ. เสมอ ส่วนผสมที่สำคัญได้แก่

มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม (100 กรัม เท่ากับ 1 ขีด)
น้ำตาลเด็กซ์โตรส (Dextrose) 20 กรัม
วุ้น (Agar) 15 กรัม
น้ำ (น้ำสะอาด) 1 ลิตร
มันฝรั่งปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 1x1x1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร หรือขนาดลูกเต๋า ไม่ควรหั่นเป็นชิ้นบางมาก การเพาะเห็ด เวลาต้มจะเละยากต่อการกรองเอากากออก นำมันฝรั่งนี้ ต้มกับน้ำสะอาด 1 ลิตร น้ำต้องสะอาดไม่เป็นกรดหรือด่าง ต้มให้เดือด เบา ๆ นาน 10-15 นาที ไม่ต้องคนหรือกวน แล้วกรองแยกกาก มันออก น้ำต้มมันที่ได้ต้องเติมน้ำลงไปอีกให้ครบ 1 ลิตร จะมีน้ำ ส่วนหนึ่ง สูญหายไประหว่างการต้ม เติมวุ้น 15 กรัม (วุ้น คือวุ้น สำหรับ ทำขนม จะอยู่ในรูปของวุ้นผง หรือเส้นใช้ได้เหมือนกัน) การใส่วุ้นต้อง ค่อยโรยใส่ลงไป พร้อมกวนตลอดเวลาเพื่อป้องกันวุ้นเกาะกัน เป็นก้อน นำไปต้มอีก ต้องกวนตลอดเวลา พอเริ่มจะเดือดวุ้นก็จะละลายหมด เติมน้ำตาลเด็กซ์โตรส 20 กรัม กวนให้ทั่วก็จะได้อาหาร พี.ดี.เอ.

นำอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ใส่ลงในขวดแบน ให้สูงจากก้นขวดประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังไม่ให้อาหารและเปื้อนปากขวด ควรใช้กรวยที่มีก้านยาวหรือหม้อสำหรับกรอกอาหาร ที่มีสายต่อลงในปากขวดได้ อุดจุกปากขวดด้วยสำลี ให้แน่นพอประมาณ ใช้กระดาษห่อทับสำลีอีกชั้นหนึ่ง รัดด้วยหนังยาง อาหารวุ้นที่ใส่ขวดนี้ ยังมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ อื่น ๆ อยู่มากมายการต้มเดือด ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ให้หมดด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำอีกครั้งหนึ่ง