วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูและการทำให้ออกดอก

การเพาะเห็ดหูหนูสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก
ปัจจุบันการหาไม้มาเพาะเห็ดหูหนู อาจยุ่งยากมาก ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องเพาะบนไม้ก็ได้
โดยจะเปิดถุงให้ดอกเห็ดออกบนถุงเชื้อเสียเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องการที่จะเห็ดให้ออกดอกบนถุงไม้
เหมือนเห็ดอื่น ๆ
ที่จะต้องเปิดให้ออกดอกตรงปากถุง แต่ในกรณีเห็ดหูหนูถ้าจะเปิดเอาดอกแล้วหลังจากเส้นใยเดินเต็มถุง
แล้วปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดมารวมตัวกันเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม
สีออกเหลืองจึงเอาถุงที่ซื้อมา
แล้วถอดคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดโกนคม ๆ กรีดข้างถุงให้เป็นแนว
ยาวประมาณ 6-8 แถว การกรีดถุงควรกรีดในลักษณะเฉียงลง แบบกรีดต้นยางพาราจะดีกว่ากรีดตามแนวดิ่ง
เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีกว่า
ควรกรีดให้ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร โดยรอบประมาณ 15-20 แผล หรือกรีดรูปกากกะบาทเล็ด ๆ
รอบถุง จากนั้นจึงนำถุงเห็ดไปวางบนชั้น หรือแขวนในโรงเรือนเห็ด ซึ่งมีขนาด 4 x 6 x 2.5 เมตร
หลังคารูปจั่ว โรงเรือนนี้สามารถเก็บความชื้นได้ดี
การรดน้ำควรใช้เครื่องฉีดชนิดพ่นฝอยฉีด การรดน้ำควรให้อย่างสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อวันปฎิบัติ
เช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเก็บผลผลิต
การเก็บผลผลิตจะพบว่าดอกเห็ดหูหนูเมื่อเกิดระยะแรกขอบจะหนาและโค้งคล้ายถ้วย
เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ขอบของดอกเห็ดจะบางโค้งเป็นลอน ถ้าดึงจะหลุดได้ง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่เก็บได้
การเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่พร้อมกันแล้ว
ใช้มือรวบแล้วดึงเบา ๆ นำมาตัดก้านพร้อมทั้งเศษวัสดุที่ติดมาด้วยออกทิ้ง บางแห่งการเก็บผลผลิตจะเก็บ
เฉพาะดอกแก่ก่อนส่วนที่เหลือก็รอเก็บในวันถัดไป วิธีนี้ถึงแม้เสียเวลาในการเก็บบ้าง แต่ก็สามารถเก็บ
ได้ทุกวัน ก้อนเชื้อที่ทำการเก็บผลผลิตไปแล้วนั้นหากพักการรดน้ำประมาณ 5-8 วัน แล้วทำการรดน้ำ
ใหม่ก็จะทำให้ดอกเห็ดออกเร็วยิ่งขึ้น ผลผลิตของเห็ดหูหนูที่ได้ ถ้าถุงขนาด 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิต
โดยเฉลี่ยประมาณ 400-700 กรัม ใช้เวลาเก็บประมาณ 2-2.5 เดือน

2. การเพาะเห็ดหูหนูในท่อนไม้
ไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ แต่ไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลามากไม้ที่ได้ทดลองแล้วให้ผลคุ้ม
ค่าต่อการลงทุน ได้แก่ ไม้แค มะม่วง นนทรี พลวง ไทร ไคร้น้ำ ขนุน มะยมป่า มะกอง เหียง โพธิ์ป่า
ทองกวาว จามจุรีและยางพารา นอกจากนี้ยังมีไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้พอสมควร แต่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือ
ไม้ก้ามปูและนุ่น สำหรับไม้เนื้อแข็งที่ใช้ได้ดีได้แก่ไม้กระถิ่นณรงค์ สะแก ฝรั่ง ลินทนิล ไม้ที่มช้เพราะเห็ด
ควรจะหาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูกไม้บางชนิดเป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้มะม่วง ก็ไม่ควรตัดเอามา
เพราะเห็ด นอกจากเป็นไม้ที่ไม่ใช้แล้ว จึงจะได้ประโยชน์มาก

หลักในการคัดเลือกและตัดไม้สำหรับเพาะเห็ดหูหนู
1.ไม้ที่จะนำมาใช้เพาะควรเป็นไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ สด ๆ ใช้เพาะทันที สำหรับไม้เนื้ออ่อนทั่วไปไม่ควร
ตัดทิ้งไว้เกิน 2 สัปดาห์และสำหรับไม้ที่มียางไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์
2.ควรตัดไม้มาทำการเพาะเห็ดในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งนี้เพราะในฤดูนี้ไม้จะสะสมอาหารมาก
และเมื่อใส่เชื้อเห็ดลงไปแล้ว จะมีเชื้อเห็ดชนิดอื่นปลอมปนน้อยที่สุด
3.อายุของไม้นั้นให้ถือหลักที่ว่า ถ้าไม้อายุน้อยจะได้ผลผลิตเร็วและหมดเร็ว ถ้าหากเป็นไม้แก่
เชื้อเห็ดจะเจริญเข้าไปช้า ออกดอกช้า แต่เก็บผลผลิตได้นาน อายุของไม้ที่พอเหมาะสำหรับไม้เนื้ออ่อน
ควรอยู่ระหว่าง 3-5 ปี
4.ไม้ที่มียางควรตัดทิ้งไว้ให้ยางเสื่อมเสียก่อน เช่น ไม้ขนุน ยางพารา ไทร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
ถ้าจะให้ยางหมดเร็วให้ตัดปลายไม้เล็กน้อย แล้วใช้ส่วนที่ถูกตัดออกมาถูกับท่อนไม้ไปมาจะทำให้ยางออกเร็ว
ยิ่งขึ้น
5.ถ้าไม้นั้นเป็นไม้ที่ตายยาก เช่น ไม้ทองหลาง นุ่น มะกอก เมื่อตัดมาแล้วควรปอกเปลือกแล้วผึ่งไว้
ให้ผิวนอกแห้งเสียก่อนประมาณ 1-2 วัน
6.ถ้าไม้เปียกฝนต้องผึ่งให้แห้งเสียก่อน อย่างเจาะรูใส่เชื้อขณะที่ยังเปียกอยู่
7.การตัดไม้พยายามอย่าให้เปลือกช้ำเป็นอันขาด ถ้าเปลือกไม้ช้ำควรเอาปูนขาวชุบน้ำทา
หรือใช้ปูนสำหรับเคี้ยวหมากทาก็ได้ ถ้ามีกิ่งก้านเล็ก ๆ ติดมาด้วยให้ตัดทิ้ง และใช้ปูนขาวทารอยแผลเสียก่อน
8.ขนาดของไม้ใช้ได้ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป จนกระทั่งถึงขนาดโตที่สุด
แต่ไม้ที่มีขนาดเหมาะสมที่สุด คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10-20 เซนติเมตร
9.ท่อนไม้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น