วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

แปลงโฉมเห็ดนางฟ้า

[font=Tahoma,][size=2][color=#000000]"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อนและตู้อบ ก็ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"



[b]เป็นที่รู้กันดี ว่าเมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉะนั้นผลผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งมีทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออกแต่ละปีรายได้จากการส่งออกหลั่งไหลเข้าประเทศไม่น้อยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามูลค่าสูงถึง1,129,206 ล้านบาท และยิ่งคราใดที่ฤดูกาลเป็นใจเอื้ออำนวยให้เหล่าเกษตรกรเพาะปลูก บรรดาพืชผักและผลไม้จะเพิ่มมากขึ้นจนบางคราวเกิดภาวะล้นตลาด แต่ไม่เป็นปัญหา เพราะได้กลุ่มแม่บ้านใช้ภูมิปัญญานำมาแปรรูป หรือเรียกอีกอย่างว่า การถนอมอาหารก่อเกิดรายได้เสริม จนหลายคนยึดเป็นอาชีพหลัก[/b]

ดั่งเช่นกลุ่มสตรีอาสาพัฒนา เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนาม ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูป จนกวาดรางวัลมานับไม่ถ้วน อาทิโอท็อป 5 ดาว, ชนะเลิศอันดับ 1เวทีประกวดการผลิตอาหารใส่เกลือไอโอดีนของจังหวัดเพชรบุรี,รางวัลอาหารแปรรูป จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เครื่องหมาย อย.และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น

แต่กว่ากลุ่มสตรีฯจะมารวมตัวเช่นทุกวันนี้ ต้นฉบับคิดค้นกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้าคือคุณสุมล ขันทองคำ ผู้ล่วงลับ ต้องผ่านมรสุมชีวิตเคยแม้กระทั่งทั้งครอบครัวเหลือเงินเพียง 3,000 บาท แต่เพราะความไม่ท้อแท้พยายามจนถึงที่สุด ทำให้ก่อนจากโลกใบนี้ไป เธอได้ฝากเมนูต่างๆล้วนทำจากเห็ด จนเป็นที่ยอมรับ และกล่าวขาน

เพื่อให้คุณผู้อ่านทราบเรื่องราวของครอบครัว "ขันทองคำ"และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมวิธีแปรรูปเห็ดนางฟ้า เส้นทางเศรษฐีร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยหรือ SME BANKพาไปพูดคุยกับ คุณนิติมา ขันทองคำ ทายาทคนเดียวที่เข้มแข็งดำเนินกิจการท่ามกลางความรู้สึกสิ้นหวัง จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี



[b]จากชีวิตสุขสบาย

ใช้เห็ดนางฟ้าเลี้ยงครอบครัว [/b]

คุณนิติมา หรือ คุณนิด เท้าความกว่าจะมาเป็นเห็ดแปรรูป "คุณสุมล" ในวันนี้ว่า"พื้นเพเป็นคนเพชรบุรี แต่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จำความได้จนเรียนจบเลขานุการ พาณิชยการราชดำเนินช่วงเวลาดังกล่าวใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เนื่องจากที่บ้านมีกิจการส่วนตัวทั้งภัตตาคาร คาเฟ่ริมน้ำ และมีหุ้นอยู่ในบริษัทมันฝรั่งทอดแห่งหนึ่งจนกระทั่งปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจที่คุณพ่อคุณแม่สร้างมาล้มภายในพริบตา อีกทั้งสามีเสียชีวิตด้วยโรคร้าย เรียกว่าชีวิตช่วงนั้นแย่แทบทนไม่ไหว ทั้งครอบครัวเลยพร้อมใจเดินทางกลับบ้านเกิด"

เมื่อครอบครัว "ขันทองคำ" ปฏิเสธการใช้ชีวิตในเมืองหลวงแต่ใช่ว่าการกลับถิ่นกำเนิดครั้งนี้จะสุขสบาย เพราะคุณนิด เล่าว่าช่วงเวลานั้น ทั้งบ้านเหลือเงินเพียง 3,000 บาท ดังนั้นทุกบาททุกสตางค์จึงต้องใช้สอยอย่างประหยัดทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดรายจ่ายคือ ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานรวมถึงแบ่งส่วนหนึ่งไปจำหน่าย แต่ทว่ากำไรน้อยประกอบกับมีเพื่อนบ้านชวนให้เลี้ยงปลาดุกจำหน่าย เพราะลงทุนต่ำขายได้ราคาดี คุณแม่เลยกู้เงินคนรู้จัก 10,000 บาทขุดบ่อเลี้ยงปลาหลังบ้านขายในเวลาต่อมา

คุณนิด เล่าต่อว่าเลี้ยงปลาดุกอยู่ 6 เดือน ช่วงแรกขายดี สักพักคู่แข่งเริ่มเยอะอีกทั้งราคาปลาดุกตกต่ำ ขาดทุนจนต้องเลิก "จังหวะชีวิตเราไม่ค่อยดีตอนเลี้ยงปลาราคาดี แต่ผ่านไปสักระยะราคาตก ขาดทุน เบ็ดเสร็จเป็นหมื่นสู้ไม่ไหว สุดท้ายเลิกอาชีพแม่ค้าขายปลา"

ใช่ว่าชีวิตจะประสบแต่วิกฤต นี่คือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณสุมลพบโอกาสครั้งใหม่จากการบอกเล่าของทายาท ว่า "ปี 2542 เพื่อนบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้าขายแนะนำให้คุณแม่ลองเพาะ เนื่องจากลงทุนไม่สูง เพาะง่าย ให้ผลผลิตเร็วท่านสนใจซื้อเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน ก้อนละ 3 บาท มาเพาะแต่ละก้อนเพาะได้นาน 6 เดือน ปรากฏแต่ละวัน เห็ดนางฟ้าออกดอก 20กว่ากิโลกรัม ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้ว เห็ดนางฟ้ากิโลกรัมละ 25 บาทถือว่าราคาดีมาก ช่วงนั้นเลยเพาะเห็ดขาย เฉลี่ยครอบครัวมีรายได้ 500 บาทต่อวัน"

ทว่าเมื่อใดก็ตาม ที่สินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแถมหาง่าย ไม่แปลกที่คนจะแห่หันมาเพาะเห็ดนางฟ้าจำหน่าย ตรงนี้ คุณนิดเผยถึงปัญหาที่ตามมาว่า สินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ราคาเห็ดตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งกระทบโดยตรงต่อรายได้ ตลอดจนเห็ดที่เพาะไว้

"ขายเห็ดนางฟ้าสดได้ 4 เดือน ชาวบ้านละแวกนั้นเห็นว่าขายดีเลยหันมาเพาะเยอะมาก จนเห็ดเริ่มขายไม่ออก และเน่าเสียแม่เสียดาย เลยเอาเห็ดนางฟ้ามาทำเป็นอาหาร ทั้งต้มยำ ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันหอยสารพัดเมนูแต่ยังไม่หมด แช่ตู้เย็นก็กลัวเน่า ชั่วครู่คิดได้ว่าลองนำมาทำน้ำพริกมะขาม โดยใช้เห็ดแทนหมูสับ ทานกันในครอบครัว รู้สึกอร่อยเลยนำไปฝากนายอำเภอ ซึ่งท่านชิมแล้วชอบแนะนำให้ทำมาขายในงานประชุมประจำจังหวัด แม่ดีใจทำไปขายในราคากระปุกละ 10บาท ปรากฏขายดีมาก ตั้งแต่บัดนั้น เลยมีเมนูอื่นตามมา อาทิ น้ำพริกเผาเห็ดน้ำพริกตาแดงเห็ด"

ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสองแม่ลูกที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปจำหน่าย จากหน่วยงานราชการ เริ่มขยายสู่แหล่งอื่น อาทิสถานศึกษา และสถานที่ทำงานต่างๆ แต่เห็ดก็ยังเหลืออยู่ดี



[b]รวมกลุ่มเกิดปัญหา

แม่ไม่ท้อ เฟ้นหาสารพัดวิธี[/b]

ราวกับว่าโชคเข้าข้างคนขยัน คุณนิด เล่าว่า"คุณแม่บังเอิญพบแม่ชีท่านหนึ่งที่เขาวังซึ่งท่านแนะนำให้ลองนำเห็ดไปผัดกับน้ำตาล ซีอิ๊วขาว เรียกเห็ดหย็องใช้รับประทานกับข้าวต้ม แม่สนใจกลับมาลองทำ ปรากฏว่าอร่อย แต่วันรุ่งขึ้นเหนียว ไม่กรอบ น้ำมันไหลเยิ้ม พูดง่ายๆ ว่า ทำกินได้ ทำขายไม่ได้แต่ท่านไม่ล้มเลิก สรรหาวิธีมากมาย อาทิ ตากแดด คั่ว นึ่ง ลองผิดลองถูก 6เดือน จนสุดท้ายทราบเคล็ดลับทำให้กรอบ อร่อย"

ถามว่าเพราะเหตุใดเห็ดนางฟ้าจึงกรอบ และมีรสชาติคงเดิม คุณนิด เผยแบบไม่หวงว่า"แม่หวนนึกถึงกล้วยฉาบ เผือกฉาบ ทำอย่างไรถึงกรอบ จนกระทั่งพบว่าหัวใจสำคัญของความกรอบคือ ความสด ซึ่งหลังฉีกเห็ดนางฟ้าเป็นชิ้นและคลุกกับเครื่องปรุงรสคุณภาพดีแล้ว ต้องลงทอดในน้ำมันทันทีหากอยากให้เห็ดเก็บไว้รับประทานได้นาน น้ำมันที่ใช้ทอด ไม่ควรเกิน 2 ครั้งวิธีดังกล่าวจะช่วยยืดอายุเห็ดนาน 3 เดือน"

เมนูเห็ดหย็องลูกสาวเล่าต่อว่า ถูกคุณสุมลนำไปเสนอท่านนายอำเภออีกครั้งเพื่อการันตีความอร่อย ซึ่งครั้งนี้ท่านแนะนำให้ไปจำหน่ายในงานชายหาดชะอำปรากฏผลการตอบรับดีเกินคาดถึงขั้นมีสื่อทีวีท้องถิ่นมาขอถ่ายทำกรรมวิธีผลิต ทำให้ขายดิบขายดีลำพังแรงงานครอบครัวไม่พอ ผู้มีพระคุณแนะนำให้รวมกลุ่มขึ้นมา

"นายอำเภอเปรียบเสมือนผู้ที่คอยหาสถานที่จำหน่ายให้แก่ครอบครัวเราซึ่งท่านเห็นว่ามีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เกรงว่าจะผลิตไม่ไหวเลยแนะนำให้จัดตั้งกลุ่ม คุณแม่ไม่รอช้าชักชวนเพื่อนละแวกบ้านที่เพาะเห็ดนางฟ้ามารวมกลุ่มกัน ตั้งต้น 59 คนเก็บค่าใช้จ่ายไว้เป็นเงินหมุนเวียนเดือนละ 200 บาทแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด โดยคุณแม่รับหน้าที่ประธานกลุ่ม"

แต่แล้วไม่นานกลุ่มเกิดปัญหา สินค้าไม่มีสถานที่จำหน่ายถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทายาทประธานกลุ่ม เผย ระยะหลังเจ้าหน้าที่รัฐไม่แนะนำสถานที่จำหน่าย ตลาดจึงมีเพียงในจังหวัดเพชรบุรีเท่านั้นทำให้ยอดขายตกลงเห็นได้ชัด หาทางขยับไปออกงานกรุงเทพฯ จนสำเร็จ

จากความโดดเด่นของเห็ดหย็อง ทำให้กลุ่มสตรีฯ นำออกจำหน่าย สถานที่แรก คุณนิดบอกว่า คือศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถือว่าประสบความสำเร็จชาวญี่ปุ่นชอบ สั่ง 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท แต่ทว่าหลังจบงานลูกค้าโทรศัพท์มาติว่า เห็ดทอดถ้ารับประทานไม่หมดจะอมน้ำมันหากไม่หาวิธีแก้จะไม่สั่งซื้อต่อทั้งหมด

"ทั้งกลุ่มกลับมาสรรหาสารพัดวิธี ทั้งลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความร้อน และตู้อบ ไม่ได้ผลสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นเครื่องเหวี่ยงน้ำมันออก ได้ผล 100% จากนั้นจึงค่อยๆมีเมนูอื่นตามมาอีกมากมาย และเน้นจำหน่ายตามงานเทศกาล อาทิ เห็ดแดดเดียวเมี่ยงเห็ด คุกกี้เห็ด ทอดมันเห็ด เห็ดอบซีอิ๊ว ข้าวตังหน้าเห็ดขนมปังหน้าเห็ด ขนมจีนน้ำยาเห็ด และอีกหลายสารพัดเมนูล้วนทำจากเห็ด"คุณนิด ระบุ



[b]ทายาทรับช่วงต่อ

กิจการดี อนาคตไกล [/b]

ธุรกิจกำลังดำเนินได้ด้วยดี อีกทั้งหลายหน่วยงานเชิญคุณสุมลประธานกลุ่มเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าเสมอ แต่วันหนึ่งต้องมาสะดุดเพราะอะไร ลูกสาวเผยด้วยความรู้สึกเสียใจว่า

"ปี 2545คุณพ่อเสียชีวิต จากนั้น 2 ปี แม่เสียชีวิตตามเหมือนว่าครอบครัวขาดเสาหลัก เพราะทุกอย่างที่ผ่านมา แม่เป็นต้นคิดพอขาดแม่ รู้สึกหมดกำลังใจ ไม่อยากทำต่อ แต่ด้วยความสนับสนุนและแรงศรัทธาจากลูกค้า ที่ยังสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่องทำให้รู้สึกว่าเหล่าเมนูเห็ดที่แม่สร้างไว้ ยังเป็นที่ต้องการทั้งหมดเลยเป็นแรงผลักดัน ให้สานกิจการต่อจวบจนปัจจุบัน"

เมื่อขจัดความท้อแท้สิ้นหวัง คุณนิด เผย เข้ารับช่วงต่ออย่างเต็มความสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนผลักดันสินค้าเข้าจำหน่าย ณ ห้างสรรพสินค้าร้านโกลเด้นเพลส ร้านจิตรลดา ดอยคำ ออกบู๊ธตามงานแสดงสินค้ารวมถึงส่งจำหน่ายต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษและออสเตรเลีย สร้างรายได้เข้ากลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทถามว่าประสบความสำเร็จแล้วหรือไม่ เธอตอบ ช่วงแรกดี แต่ระยะหลังประสบปัญหาหลักๆ คือ ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ประกอบกับไม่ขึ้นราคาจึงทำให้กำไรลดลงเท่าตัว

"1-2 ปี ที่ผ่านมา วัตถุดิบหลัก อาทิเห็ดนางฟ้า เครื่องปรุงรส แก๊สหุงต้ม กล่องบรรจุ ยกขบวนกันขึ้นราคายิ่งช่วงฤดูร้อนและหนาว เห็ดที่กลุ่มเพาะไว้ จะไม่ออกดอกทำให้ต้องรับซื้อจากจังหวัดใกล้เคียง ราคากิโลกรัมละ 35 บาทซึ่งแต่ละวันกลุ่มต้องใช้เห็ดทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม เนื่องจากเห็ดนางฟ้าสด5 กิโลกรัม หลังตัดโคนฉีกฝอยแล้ว สามารถทำเห็ดหย็องได้เพียง 9 ขีดอีกทั้งเพื่อให้ได้คุณภาพ ตลอดจนเน้นสุขภาพผู้บริโภคเป็นหลัก น้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำเพียง 2 ครั้งเท่านั้นซึ่งเมื่อรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จแทบไม่เหลือกำไร ขณะนี้เร่งหาหนทางแก้ไขคือพยายามลดต้นทุนแฝง เช่น หาบรรจุภัณฑ์ที่ประหยัดขึ้นและจัดกระบวนการขนส่งสินค้าให้ดี"

ถามราคาจำหน่ายที่คุณนิดบอกตั้งแต่แปรรูปเห็ดนางฟ้ามากว่า 8 ปี ไม่เคยขึ้นราคาและกลุ่มลูกค้าเธอระบุว่า เห็ดหย็องหรือเห็ดนางฟ้าสามรส ขีดละ 25 บาท ส่วนเมนูอื่นอาทิทองพับเห็ดนางฟ้า น้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้า น้ำพริกตาแดงเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าแดดเดียว มีตั้งแต่ราคา 25-45 บาท สำหรับสัดส่วนลูกค้า คนไทย 70เปอร์เซ็นต์ ต่างชาติ 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ช่วงเทศกาลกินเจจะขายดีที่สุด

เท่าที่สังเกตทางกลุ่มเน้นเผยแพร่ความรู้การแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้แก่สถานศึกษาและกลุ่มคนที่สนใจ จนทำให้เมนูชนิดนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศก่อให้เกิดคู่แข่งขันตามมาหรือไม่ ตรงนี้ คุณนิด ระบุชัดเจนว่า"ไม่เคยหวงวิชาและเคล็ดลับต่างๆ เนื่องจากอยากให้คนมีอาชีพ เท่าที่สังเกตมีผู้ประกอบการทำขายทุกภาค เช่น ขอนแก่น ระยอง พัทลุง แต่อยากบอกว่ากลุ่มเราเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย ดังนั้น เมนูใหม่ๆเราเป็นผู้คิดริเริ่มตลอด"

ทุกวันนี้แม้คุณนิดจะรับหน้าที่ทั้งหาคำสั่งซื้อ หาสถานที่จำหน่ายประชาสัมพันธ์สินค้า และเพาะเห็ด แต่เธอก็มิได้ตั้งตัวเป็นประธานกลุ่มเป็นเพียงสมาชิกคนหนึ่งที่คอยอาสาตัว ช่วยเหลือสมาชิกท่านอื่นๆรวมถึงตอบแทนสังคมโดยเป็นตัวแทนไปบรรยายความรู้กรรมวิธีการแปรรูปเห็ดนางฟ้าแก่หน่วยงานที่สนใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการมีอาชีพ

ถึงตรงนี้ เส้นทางเศรษฐี ว่าผู้อ่านคงทราบข้อมูลของผู้ประกอบการท่านนี้กันอย่างจุใจแต่หากสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณนิดได้ที่กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา (เห็ดนางฟ้าแปรรูป) เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านสนามตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ (032) 455-040(081) 843-8673 และ (02) 994-9303

[b]ทั้งนี้ ก่อนจากกันไปคุณนิดฝากเมนูที่ทำจากเห็ดนางฟ้าง่ายๆ นั่นคือ ทอดมันเห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าสามรส และเห็ดนางฟ้าแดดเดียว ส่วนผสมและขั้นตอนทำคร่าวๆ ดังนี้ [/b]



[b]ทอดมันเห็ดนางฟ้า [/b]

ส่วนประกอบ เนื้อปลาอินทรีบด เครื่องแกงเผ็ด เห็ดนางฟ้าสดฉีกฝอย น้ำตาลปี๊บ ใบกะเพรา ถั่วฝักยาวหั่นแว่น และน้ำปลา

วิธีทำ นำเนื้อปลาอินทรีสดบดละเอียดผสมกับเครื่องแกงเผ็ดคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลาถั่วฝักยาว เห็ดนางฟ้า ใบกะเพรา คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนเริ่มเหนียว นำลงทอดในน้ำมันถั่วเหลืองเวลาสุกจะมีสีเหลืองกรอบน่ารับประทาน



[b]เห็ดนางฟ้าสามรส[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้าสด น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว น้ำมันถั่วเหลือง

วิธีทำ นำเห็ดนางฟ้าสดสะอาดฉีกเป็นฝอย นำไปผึ่งในที่ร่มจนน้ำสะเด็ดจากนั้นนำเห็ดและส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะที่เตรียมไว้ลงทอดในน้ำมัน เวลาทอดควรใส่ใบเตยเพื่อให้มีกลิ่นหอมใช้ไฟแรงในช่วงเริ่มทอด ค่อยๆ รี่ลงเมื่อแน่ใจว่ากระทะร้อนทอดไปจนกระทั่งเห็ดมีสีเหลืองกรอบและสุก จากนั้นตักลงมาพักไว้ในตะแกรงรอสะเด็ดน้ำมัน ซับด้วยกระดาษซับน้ำมันอีกครั้ง แล้วนำเห็ดเข้าตู้อบตั้งอุณหภูมิที่ 30-40 องศาฟาเรนไฮต์ อบนาน 20-25 นาทีถ้าให้ดีควรใช้เครื่องเหวี่ยงน้ำมันเพื่อให้เห็ดคงความกรอบและรสชาติที่อร่อย



[b]เห็ดนางฟ้าแดดเดียว[/b]

ส่วนประกอบ เห็ดนางฟ้า น้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาว พริกไทยป่น กระเทียมบดละเอียด งาขาวคั่วใช้โรยตามความต้องการ

วิธีทำ การทำเห็ดนางฟ้าแดดเดียว จะเหมือนกับการทำเห็ดนางฟ้าสามรสทุกขั้นตอนแตกต่างกันตรงส่วนผสมที่นำมาคลุกเคล้ากับเห็ดแต่เห็ดนางฟ้าแดดเดียวเมื่อทำเสร็จให้โรยด้วยงาขาวคั่วด้านบนเล็กน้อยให้แลดูสวยงาม

แหล่งที่มาจาก เส้นทางเศรษฐี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น